ช่วยเหยื่อเหยื่อค้ามนุษย์ 261 คน ส่งไทย ผู้นำ D.K.B.A.ส่งล็อตใหญ่ร่วมปราบปรามคอลเซ็นเตอร์

ช่วยเหยื่อเหยื่อค้ามนุษย์ 261 คน ส่งไทย ผู้นำ D.K.B.A.ส่งล็อตใหญ่ร่วมปราบปรามคอลเซ็นเตอร์

วันที่ 12 ก.พ.2568 เวลา 16.00 น. ศูนย์สั่งการชายแดนไทย ด้านเมียนมา โดยนายชูชีพ  พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก พร้อม พ.อ.ณัฐกร  เรือนติ๊บ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจราชมนู กองกำลังนเรศวร คุ้มกำลัง ได้รับการประสานจากกำลังกะเหรี่ยงพุทธประชาธิปไตย หรือDKBA(Democratic Karen Buddhist Army – DKBA) โดยมี พล.ต.ซอ ส่วย วะ รองผู้บัญชาการทหาร  D.K.B.A. และพล.จ.ซอ ซาย จ่อ ละ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 D.K.B.A. ส่งมอบเหยื่อค้ามนุษย์หลายชนชาติสัญชาติ  ที่ถูกหลอกลวง  ข้ามแม่น้ำเมย ผ่านท่าข้าม 28  อำเภอพบพระ โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารกะเหรี่ยง D.K.B.A เมียนมา จำนวนหนึ่ง นำรถยนต์กะบะจำนวน 10 คัน ข้ามฝั่งแม่น้ำเมยมาส่งเหยื่อของสแกมเมอร์ จำนวน 261 คน ให้กับทางการไทย โดยส่งผ่านทาง ท่าข้าม 28 บ้านช่องแคบ อ.พบพระ จ.ตาก โดยเหยื่อทั้งหมดมาพร้อมทั้งกระเป๋าเสื้อผ้า ซึ่งต่างหนีตายออกจากแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ และได้รับความช่วยเหลือจาก   D.K.B.A.

โดยมี11สัญชาติ

ฟิลิปปินส์ 26 คน

บังคลาเทศ 13 คน

บราซิล 2 คน

เนปาล 1 คน

เคนยา 33 คน

ลาว 19 คน

เอธิโอเปีย 46 คน

ปากีสถาน 31 คน

แทนซาเนีย 1 คน

ศรีลังกา 1 คน

ยูกันดา 2 คน

ไต้หวัน 4 คน

ส่วนที่เหลือต้องรอการคัดกรองอีกก่อนจะได้รู้จากสัญชาติไหน

ขณะที่ พ.อ.ณัฐกร เรือนติ๊บ ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจราชมนู พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ได้นำรถมารอรับตัวเหยื่อการค้ามนุษย์ 261 คน ที่ทางกองกำลัง D.K.B.A. ช่วยเหลือ เผย ว่า ได้เตรียมรถมาเพียงพอกับเหยื่อ โดยเป็นรถบรรทุก 10 คัน และรถคุ้มเกาะอีก 8 คัน ซึ่งตัวเลขเหยื่อมี 261 คน แต่ต้องรอการยืนยันอีกครั้ง ซึ่งหลังจากหน่วยเฉพาะกิจราชมนูรับตัวแล้ว จะนำตัวไปส่งยังที่ว่าการอำเภอพบพระ ซึ่งได้ประสานนายอำเภอพบพระ และผู้กำกับการตำรวจภูธรพบพระ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว ถือเป็นการตรวจสอบขั้นต้น และหลังจากนั้น จะนำไปคัดกรองที่กองร้อย ตชด. ที่อำเภอแม่สอด และดำเนินการตามขั้นตอน NRM ต่อไป

ขณะนี้ ถือว่ามาตรการที่รัฐบาลได้ดำเนินการ อย่างการตัดไฟ งดส่งน้ำมัน ตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต ถือว่าได้ผล เพราะเป็นผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มคอลเซ็นเตอร์ แต่อาจจะกระทบกับพี่น้องประชาชนทั้งสองฝ่าย แต่ต้องขอให้เข้าใจรัฐบาล และเข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ว่าอยู่ในช่วงที่ทุกคนต้องเสียสละ เพื่อให้การแก้ไขปัญหานี้มันสำเร็จ

ส่วนการปล่อยตัวเหยื่อในครั้งนี้ เป็นเพราะเหยื่อไม่สามารถทำต่อได้ โดยหากเป็นบริษัทเล็ก ๆ จะย้ายฐานการผลิตไปเลย แต่ถ้าเป็นบริษัทใหญ่จะลดระดับเหลือ 50% โดยหากยืดระยะในมาตรการนี้ไปอีก คิดว่าพวกเขาจะอยู่ไม่ได้อยู่แล้ว พร้อมยอมรับว่า หลังจากนี้น่าจะมีการปล่อยตัวในล็อตต่อไป

ส่วนการดูแลความปลอดภัยของเหยื่อนั้น เรากับทางกองกำลังฝั่งเมียนมา ไม่ได้เป็นศัตรูกัน ดังนั้นเรายึดเรื่องความปลอดภัยเป็นประเด็นหลัก

ส่วนเรื่องการตรวจจับการลักลอบขนส่งสินค้าต้องห้ามไปยังฝั่งเมียนมา ว่า เป็นการส่งในรายย่อย เพราะฝั่งตรงข้ามต้องการน้ำมัน และก็มีมีราคาสูง ซึ่งก็จะมีการลักลอบ ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารฯจับได้ทุกวัน ทั้งน้ำมันที่เป็นถังเล็ก ๆ และแผงโซลาร์เซลล์ต่างๆ

พ.อ.ณัฐกร เรือนติ๊บ กล่าวอีกว่า สำหรับการตรวจสอบชาวต่างชาติพักเกินเวลา ว่า เมื่อวานนี้มีการลงพื้นที่ตรวจสอบแล้วก็พบ 22 รายที่อยู่เกินเวลา และก็เข้าสู่การดำเนินคดีต่อไป ส่วนการวางตามแนวชายแดนนั้น ทางผู้บัญชาการทหารบก ให้เพิ่มกำลังทหารแล้ว เพื่อการปฏิบัติการ และแก้ไขปัญหา ส่วนแนวโน้มที่จะมีคนจากฝั่งเมียนมาหลายคนทะลักมายังฝั่งไทยนั้น ก็เป็นผลจากมาตรการที่เราใช้ ด้วย จากนั้นจะนำเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง หากพบว่าเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์จริงจะจัดส่งเข้าศูนย์บูรณาการคัดแยก จ.ตาก เพื่อส่งกลับยังประเทศต้นทางต่อไป ขณะที่มีรถส่งสินค้าไม่ว่าจะเป็นรถโม่บรรทุกปูนคอนกรีตผสมเสร็จ และสินค้าอื่นข้ามไปๆมาๆตลอดทั้งวัน

ขณะที่ นายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.พรรคเป็นธรรม ลงพื้นที่ดูการส่งตัวเหยือด้วยกล่าวว่า เบื้องต้นอย่างเช่นได้คุยกับพี่น้องแคลิฟอร์เนียที่เป็นเหยื่อถูกทารุณกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าช็อต ใช้ความรุนแรงทารุณกรรมต่างๆ ซึ่งเพื่อนๆของเค้าในประเทศของต่างมาจากแคลิฟอร์เนียหลายๆร้อยคนและมีอีกหลายหลายประเทศภและปากีสถาน เป็นต้น และอีกหลายๆประเทศที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือครับ ได้คุยกับเอกอัครราชฑูตศรีลังกา  ก็แจ้งให้ช่วยคนศรีลังกาด้วย รวมทั้งประเทศญี่ปุ่นจะมีเยอะรวมๆแล้วหลายประเทศ

สำหรับการปราบปรามต้องมีประเทศจีนที่จะเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ แต่ว่าประเทศจีนประเทศจีนก็คงต้องมี ความร่วมมือด้วยรวมถึงกองกำลังฯช่วยเหลือด้วยและเวทีระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นกลุ่มองค์การระหว่างประเทศ

UNDODC ที่มีมาตรการกลไกต่างๆในการจัดการกับพวกภาษีข้ามชาติเราจะดึงมาตรการอย่างเนี่ยมาใช้กลไกต่างๆมาใช้อย่างไรเนี่ย ประเทศไทยเราจะต้องแสดงบทบาทความเป็นผู้นำ

ส.ส.กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องแก๊งคอลเซนเตอร์ย้ายไปเรื่อยก็ต้องดูให้ได้ว่าเราต้องจับมือร่วมงานกับทางเคบีเอต้องทหารในพื้นที่หรือแม้กระทั่งจังหวัดในพื้นที่ ที่ติดกับฝั่งโน้นเนี่ยจะต้องทำงานจริงๆจังต้องเริ่มจริงๆนะกับกลุ่มต่างๆ ผมไม่เชื่อมั่นว่าแต่ว่าประสิทธิภาพยังไม่พร้อมเราจำเป็นต้องเริ่มรับต่อ ถ้า 2.5 เนี่ย 2.5 จะดีกว่านี้คุยกับผู้นำต่างๆชุมชนต่างๆแล้วจะจัดการกันอย่างไรแต่เราก็ต้องไม่มีผลกระทบต่อประชาชนในประเทศตอนนี้เราเห็นในเรื่องเกี่ยวกับการมาตรการ

ในเรื่องของน้ำมันเชื้อเพลิง ประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับแก๊งคอลเซนเตอร์ก็ได้รับผลกระทบทั้งประชาชนในพื้นที่ฝั่งโน้นถ้าฝั่งโน้นจะเห็นชัดเจนว่าเค้าจะทำเกษตรกรรมอยู่ตอนนี้การทำข้าวโพดเค้าต้องใช้น้ำมันในการทำแต่ว่าตอนนี้ฝนมันไม่มีแล้วจะทำยังไงเราก็ต้องมีมาตรการเช่นเดียวกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่าสำหรับแหล่งอาชญากรรมเมืองช่องแคบ มีชื่อในความชั่วร้ายครบวงจรนรก ตั้งแต่ยาเสพติด การค้ามนุษย์ จนถึงสแกมเมอร์ ( เมื่อหลายวันก่อนมีเหยื่อหนีออกจากเมืองสแกมเมอร์ บริเวณตรงข้ามบ้านห้วยน้ำนัก หมู่ 4 ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก)( ตามข่าวที่ไทยรัฐเคยนำเสอนไปแล้ว )

มีฐานที่ตั้งตึกและอาคารกว่าร้อยหลัง ตั้งห่างจากตัวเมืองเมียวดีประมาณ 50 กิโลเมตรไปทางตอนใต้ ตลอดแนวตรงข้ามกับ ต.ช่องแคบ อ.พบพระ จ.ตาก   ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของกองกำลังแห่งชาติกะเหรี่ยงหรือเคเอ็นเอ (Karen National Army - KNA) หรือกองกำลังพิทักษ์ชายแดนกะเหรี่ยงเดิม (Karen Border Guard Force – Karen BGF) ที่แห่งนี้ไม่สายไฟฟ้าพาดผ่านไปถึง  ใช้เพียงไฟฟ้า แบบแผงโซล่าเซลล์ โซล่ารูฟพลังงานแสงอาทิตย์และเครื่องปั่นไฟขนาดใหญ่ โดยมีแม่น้ำเมยซึ่งเป็นเส้นแบ่งแดนประเทศไทยกับรัฐกะเหรี่ยงของพม่า มีแหล่งต้นน้ำจาก อำเภอพบพระ ไหลผ่าน อ.แม่สอด อำเภอ แม่ระมาด และ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ก่อนไหลไปบรรจบแม่น้ำสาละวินที่บ้านสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

สำหรับ “ช่องแคบ” ขึ้นชื่อว่าโหดร้ายที่สุดในบรรดาเมืองสแกมเมอร์ติดริมแม่น้ำเมย เรียกกันในหลากหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น “ช่องแคบ” อันมาจากลักษณะภูมิประเทศของแม่น้ำเมยที่แคบมากจนเดินข้ามถึงกันได้ หรือ ไท่ฉาง (Taizhang)” ในภาษาจีน อันมาจากชื่อบริษัทสแกมเมอร์ออนไลน์ชื่อดังในเมืองดังกล่าว ซึ่งเพี้ยนเสียงเป็น “ท่าช้าง” ในภาษาไทยสำหรับคนท้องถิ่น

คนจีนเทาที่คุมเหยื่อ มีความโหดเหี้ยมทรมานเหยื่อ ซึ่งชาวต่างชาติหลายคนที่ได้รับการไถ่ตัวหรือหลุดหนีออกมาได้ต่างพูดเป็นเสียงเดียวว่ายิ่งกว่าตกนรกทั้งเป็น ทุกข์ทรมานสุดๆ ทำงานใช้แรงงานเยี่ยงทาส ไม่ว่าจะเป็นการทำร้าย ทุบตี หรือขู่ว่าจะฆ่าเพื่อนำอวัยวะไปขาย ภายใต้การบริหารของกลุ่มมาเฟียจีนเทา

แหล่งข่าวแจ้งอีกว่า “มีคนไทยที่ไปทำงานในเมืองนั้นกว่าร้อยคน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงไทยที่เข้าไปนั่งร้องเพลง ดื่มกับแขกในร้าน KTV ซึ่งเป็นสถานบันเทิงที่มีคาราโอเกะ ยาเสพติด และงานเลี้ยงสังสรรค์ดูแลนักดื่มชาวจีนทุกคืนด้วย “

อย่างไรก็ตาม“มาตรการ 3 ตัด” ของทางการไทยจึงสร้างผลสั่นสะเทือนให้กับ BGF ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ในการตัดอินเทอร์เน็ต ตัดไฟฟ้า และตัดน้ำมันในพื้นที่ 5 จุดของชายแดนไทย-เมียนมา โดยเฉพาะเมืองชเวโก๊กกู่ ในเขตเมืองเมียวดี ในรัฐกระเหรี่ยง ดินแดนแห่งบ่อนคาสิโน และแก๊งคอลเซนเตอร์ ค้ามนุษย์ที่ทรมานเยี่ยงสัตว์ มีผลกระทบออกมาเป็นวงกว้างทั้งผู้ประกอบการทำธุรกิจในประเทศเมียนมาที่ค้าขายอย่างสุจริตและประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบการค้าชายแดน ที่อยู่ตามชายแดน

ผู้ประกอบการรายหนึ่งเปิดเผยว่า อาชญากรข้ามชาติหากยังไม่ถูกกวาดล้าง เหล่าผู้นำกะเหรี่ยงเทาดำและข้าราชการไทยเทายังได้รับผลประโยชน์จากธุรกิจต้มตุ๋นหลอกลวงแก๊งค้ามนุษย์คอลเซนเตอร์ใน ในประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดน

จึงเห็นด้วยกับนโยบายการปราบปรามกลุ่มอาชญากรทางด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างยิ่ง เพราะกลุ่มนี้ไม่เพียงแต่จะสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนชาวจีนชาวกะเหรี่ยงเท่านั้นบางส่วนยังสร้างความเดือดร้อนมาสู่พี่น้องคนไทยด้วยเช่นกัน ดังนั้นรัฐต้องปราบปรามกลุ่มสแกมเมอร์เหล่านี้สิ้นซากไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม

สุดท้ายอยากจะร้องขอไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ให้ช่วยกันคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาภายหลัง และความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างประเทศให้ดีก่อน เพราะการใช้มาตรการสามตัดนั้น ย่อมสร้างความเดือดร้อนให้แก่คนที่ไม่มีส่วนร่วมหลายฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนชาวเมียนมาบางกลุ่มที่ไม่มีส่วนร่วมเช่นกัน

ผู้สื่อข่าวสยามนิวส์ จ.ตาก รายงาน

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ