
หายสังสัย สาเหตุที่ เดือนกุมภาพันธ์ ไม่ลงท้ายด้วยคำว่า ยน และ คม
เชื่อว่ามีหลายคนสงสัยว่าทำไม เดือนกุมภาพันธ์ ทำไมไม่ลงท้ายด้วย ยน หรือ คม เหมือนเดือนอื่นๆ อะไรคือหลักการการตั้งชื่อของเดือนนี้ ตามมาดูกัน
เพราะ ปฏิทินสุริยคติไทย ใช้จำนวนเดือน 12 เดือน ตามปฏิทินเกรกอเรียน โดยกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการใช้ตำราจักรราศี ซึ่งแสดงการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปีตามวิชาโหราศาสตร์ โดยทรงนำคำสองคำมาสมาสแบบสนธิกัน คำต้นเป็นชื่อราศีที่ปรากฏในช่วงเวลานั้น
ในการสมาสจะใช้คำว่า อาคม หรือ อายน ที่มีความหมายว่า การมาถึง โดย อาคม จะใช้สำหรับเดือนที่มี 31 วัน และ คำว่า อายน จะใช้สำหรับเดือนที่มี 30 วัน ยกเว้นเดือนกุมภาพันธ์ ที่มี 28-29 วัน จะใช้คำว่า อาพันธ์ ที่แปลว่า การผูกหรือเกี่ยวข้องกัน นั่นเอง ซึ่งเป็นที่มาของการที่เดือน กุมภาพันธ์ ไม่ลงท้ายด้วยคำว่า ยน หรือ คม
การสมาสคำแบบสนธิของเดือนทั้ง 12 เดือน
มกราคม = มกร + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีมังกร
กุมภาพันธ์ = กุมภ + อาพันธ์ แปลว่า การมาผูกกันของราศีกุมภ์
มีนาคม = มีน + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีมีน
เมษายน = เมษ + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีเมษ
พฤษภาคม = พฤษภ + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีพฤษภ
มิถุนายน = มิถุน + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีเมถุน
กรกฎาคม = กรกฎ + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีกรกฎ
สิงหาคม = สิงห + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีสิงห์
กันยายน = กันย + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีกันย์
ตุลาคม = ตุล + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีตุล
พฤศจิกายน = พฤศจิก + อายน แปลว่า การมาถึงของราศีพิจิก
ธันวาคม = ธนู + อาคม แปลว่า การมาถึงของราศีธนู