เริ่มแล้ว! ราชกิจจาฯ ประกาศใช้ ใบรับรองแพทย์แบบใหม่ สำหรับข้าราชการที่ได้บรรจุ

เริ่มแล้ว! ราชกิจจาฯ ประกาศใช้ ใบรับรองแพทย์แบบใหม่ สำหรับข้าราชการที่ได้บรรจุ

วานนี้ (18 ต.ค.2566) เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2566 ลงนามโดยนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ประธานคณะกรรมการแพทย์ของ ก.พ. ซึ่งประกาศลงในราชกิจจาฯเมื่อวันที่ 17 ต.ค.2566

เนื้อหาระบุว่า ระบุว่า เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญอาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 แห่งกฎ ก.พ.ว่าด้วยโรค พ.ศ.2566 ประกอบมติคณะกรรม การแพทย์ของ ก.พ.ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 14 ก.ย.2566 จึงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการตรจสุขภาพของผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ดังนี้

ผู้ที่จะได้รับการบรรจุ และแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรื่อนสามัญ ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพทั้งทางกายและทางจิต ได้รับการรับรองสุขภาพจากแพทย์แผนปัจจุบันที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรมหรือโรงพยาบาลเอกชนทุกแห่ง โดยใช้แบบใบรับรองแพทย์แนบท้ายประกาศนี้

นอกจากนี้ และผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องยื่นผลการตรวจสุขภาพ พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ภายในระยะเวลาที่หน่วยงานของรัฐกำหนดโดยผู้ที่จะได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพทั้งหมด

สำหรับใบรับรองแพทย์แบบใหม่ที่แทบท้ายประกาศฉบับนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 สำหรับผู้ขอรับการตรวจสุขภาพ ระบุรายละเอียดดังนี้

- ชื่อ - นามสกุล

- ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้

- โทรศัพท์

- อีเมล

- เลขประจำตัวประชาชน

จากนั้นจะระบุว่า ข้าพเจ้าขอหนังสือรับรองสุขภาพเพื่อเข้ารับราชการ ในตำแหน่ง กรม /กระทรวง รวมทั้งประวัติสุขภาพ ซึ่งมี 4 ข้อ

- โรคประจำตัว ไม่มี/มี (ระบุ)

- อุบัติเหตุและการผ่าตัด ไม่มี/มี (ระบุ)

- เคยเข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน ไม่มี/มี (ระบุ)

- ประวัติเกี่ยวกับสุขภาพที่สำคัญ (เว้นช่องว่างให้กรอก)

ส่วนที่ 2 สำหรับแพทย์ผู้ตรวจ ดังนี้

- สถานที่ตรวจ / วัน เดือน ปี ที่ตรวจ

- ชื่อนามสกุลของแพทย์ที่ตรวจ

- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เลขที่

นอกจากนี้แพทย์ยังต้องรับรองว่าบุคคลดังกล่าว ปรากฎหรือไม่ปรากฏ โรค 5 โรค ดังต่อไปนี้

- โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฎอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม

- โรคติดยาเสพติดให้โทษ

- โรคพิษสุราเรื้อรัง

- โรคติดต่อร้ายแรงที่ปรากฎอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่

- โรคเรื้อรังที่ปรากฎอาการเด่นชัดหรือรุนแรงและเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่

จากนั้นแพทย์ยังต้องเขียนบรรยายการตรวจพบ ความเห็นว่าควรส่งตรวจเพิ่มเติมหรือไม่ และสรุปความเห็นของแพทย์

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ