กรณ์ จาติกวณิช โพสต์เฟซบุ๊กเตือนรัฐบาล เรื่องเงินดิจิทัล 1 หมื่น ถ้าดำเนินการผิดพลาด ผู้ที่ต้องชดใช้คือประชาชนทุกคน

กรณ์ จาติกวณิช โพสต์เฟซบุ๊กเตือนรัฐบาล เรื่องเงินดิจิทัล 1 หมื่น ถ้าดำเนินการผิดพลาด ผู้ที่ต้องชดใช้คือประชาชนทุกคน

จากกรณีเงินดิจิตอลวอเลต 10,000 นโยบายของพรรคเพื่อไทย ล่าสุด เฟสบุ๊ค กรณ์ จาติกวณิช - Korn Chatikavanij ก็ได้โพสต์ข้อความระบุว่า

รัฐบาลเปิดแนวความคิดเพิ่มเพดานการกู้ยืมจากสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อเปิดวงเงินกู้ 450,000 ล้านบาทรองรับโครงการ #แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทให้ประชาชน 56 ล้านคน

โดยที่รัฐกำลังเตรียมเพิ่มเพดานการกู้ตามกฎหมายจากปัจจุบัน 32% ของวงเงินงบประมาณ เป็น 45% . คำถามที่หลายคนอาจจะมีคือ

1- ถูกกฎหมายหรือไม่?

2- ถูกหลักการวินัยทางการคลังหรือไม่?

3- จะส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจโดยรวม? . คำตอบเบื้องต้นคืออำนาจรัฐบาลมีจริง เพราะกฎหมายไม่ได้ระบุเพดานตายตัว (ซึ่งต่างกับ พ.ร.บ.หนี้สาธารณะ ที่รัดกุมกว่า เพราะระบุเพดานการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณไว้ชัดเจน) . กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้เมื่อปี 2561 โดยเพดานกำหนดไว้เดิมที่ 30% และในปลายปี 2564 #รัฐบาลประยุทธ์ ก็ปรับเพดานเพิ่มเป็น 35% เพื่อรองรับการประกันรายได้เกษตรกรที่มีการใช้เงินมากขึ้นเรื่อยๆ . หลังจากนั้นปลายปี 2565 ก็ได้มีการปรับลดเพดานลง แต่ก็ยังไม่สามารถลดกลับลงไปจุดเดิมได้ วันนี้อยู่ที่ 32% .

การเพิ่มเพดานเป็น 45% หมายความว่า รัฐบาลเตรียมที่จะ 'กู้นอกระบบงบประมาณ' เพิ่มอีก 450,000 ล้านบาท การกู้วิธีนี้ไม่ถือเป็นหนี้สาธารณะเพราะรัฐไม่ได้คํ้าประกันโดยตรง (แต่คํ้าทางอ้อม เพราะเป็นการยืมจากธนาคารของรัฐ) . หลักคิดง่ายๆ ในการประเมินความมั่นคงทางการคลังของทุกประเทศ คือ ‘เงินที่ใช้มาจากไหน’ ซึ่งที่มั่นคงสุดคือเงินมาจาก ‘ลาภลอย’ เช่นการขายทรัพยากรธรรมชาติเช่นก๊าซหรือนํ้ามัน รองลงมาคือรายได้ภาษี แล้วก็รายได้จากการขายทรัพย์สินของรัฐ

จากนั้นก็คือการกู้ในระบบงบประมาณ และการกู้จากกฎหมายพิเศษที่ออกโดยรัฐสภา ท้ายๆ คือการกู้ off balance sheet คือนอกระบบงบประมาณ เช่นให้สถาบันการเงินของรัฐออกเงินไปก่อน . จริงๆ แล้วความยืดหยุ่นในการบริหารทางการเงินมีความจำเป็น แต่ความเหมาะสมและกาละเทศะการใช้เงินก็สำคัญเช่นกัน . เราจะบอกว่าการประเมินความเหมาะสมเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลก็ไม่ผิด แต่ถ้าดำเนินการผิดพลาด ผู้ที่ต้องชดใช้คือประชาชนทุกคน

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ