แฉขบวนการ ส่วยรถบรรทุก ติด ส่วยสติกเกอร์ รับเดือนละเกือบ 2,000 ล้าน ตำรวจเห็นแล้วผ่านได้เลย

แฉขบวนการ ส่วยรถบรรทุก ติด ส่วยสติกเกอร์ รับเดือนละเกือบ 2,000 ล้าน ตำรวจเห็นแล้วผ่านได้เลย

หลังจากที่ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร พรรคก้าวไกล ออกมาแฉ เรื่อง ส่วยสติกเกอร์ หรือ ส่วยทางหลวง ที่เป็นรูปการ์ตูนต่างๆ หรือสัญลักษณ์ แน่นอนเรื่องนี้ก็กลายเป็นกระเด็นอยู่ในขณะนี้ วันทางรายการ โหนกระแส ด้ออกเปิดประเด็นโดยมีการพูดคุยกับ คุณอภิชาติ ไพรรุ่งเรื่อง ประธานสหพันธ์การขนส่างบกแห่งประเทศไทย , ชำนัญ ศิริรักษ์ ทนายความ และผู้ประกอบการรถบรรทุก และนายชัย ตัวแทนคนขับรถบรรทุก

โดยได้เปิดเผยว่า เรื่อง “ส่วยสติกเกอร์” มีมาตั้งแต่ปี 2539 และเป็นเรื่องที่ต่อสู้กันมาตลอด ทำให้คุณวิโรจน์ ได้หยิบประเด็นนี้ขึ้นมาทาง คุณอภิชาติ ก็ได้มีความเชื่อมั่น และได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ซึ่งพอไปพบกับคุณวิโรจน์ก็ได้มีการคุยกัน แล้วพบว่า ข้อมูลที่คุณวิโรจน์มีนั้น ครบสมบูรณ์เทียบเท่ากันกับตน ตนพยายามร้องเรียนมาตลอด พูดมาตลอด ตั้งแต่ยุค ITV รายการข่าวดังมากมาย แต่พอเป็นข่าวขึ้นมาที เขาก็จะหายไปพักหนึ่ง แล้วกลับมาทำใหม่ เป็นแบบนี้มานาน

ตอนนี้เท่าที่ตรวจพบเจ้าของส่วย มีประมาณ 45 เจ้า บางเจ้าเป็นนักธุรกิจที่เห็นช่องทาง เขาก็ไปเคลียร์กับเจ้าหน้าที่แล้วทำออกมาขาย บางเจ้าก็เป็นตัวผู้ประกอบการรถบรรทุกทำเอง เพื่อเคลียร์ให้ตัวเอง

คุณอภิชาติ กล่าว ยกตัวอย่าง สติกเกอร์รูปไจแอนท์ จะเป็นกลุ่ม รถบรรทุกดิน หิน ทราย ในกลุ่มจังหวัดทางภาคตะวันตก ซึ่งการจะรู้ว่าสติกเกอร์ไหนเคลียร์เรื่องอะไร เถ้าแก่จะเป็นคนบอก อย่างกรณีรถดิน หิน ทราย ตามกฎหมายจะบรรทุกได้แค่ 50.5 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าติดสติกเกอร์ไจแอนท์ ตำรวจจะไม่เรียกเลย ใช้คำว่าบรรทุกได้ “เต็มกล่อง”

แต่ถ้าเอาแบบ ฟูลอ็อปชันจริงๆ ต้องเป็นสติกเกอร์รูป “ME” ตัวนี้ชิ้นละ 27,000 บาทต่อเดือน ได้ครบทุกอ็อปชัน บรรทุกได้เต็มที่ไม่มีจำกัด ส่วนควบรถต่างๆ ผิดกฎหมายได้หมด ซึ่งสติกเกอร์ตัวนี้ มีนักธุรกิจมากบารมีเป็นคนเคลียร์ให้ จะมีแม่บ้านมาเก็บเงินรายเดือนจากผู้ประกอบการทุกเดือนๆ แล้วเอาเงินไปกระจายให้ลำดับชั้นต่อไป

ในกลุ่ม สหพันธ์ขนส่งทางบก มีสมาชิกเป็นรถบรรทุกอยู่ประมาณ 4 แสนคัน ที่ทำ MOU ร่วมกันว่าจะไม่ทำผิดกฎหมาย ที่เหลือมีอีกประมาณ 1 ล้านคัน ในจำนวนนั้นมีประมาณ 2 แสนคัน ที่เข้าระบบส่วย ซึ่งส่วยที่ว่านี้มันฝังรากลึก ผลประโยชน์มหาศาล เคาะๆ เครื่องคิดเลขแล้ว เดือนละเกือบ 2,000 ล้านบาท ไม่ต่ำกว่าปีละ 2 หมื่นล้านบาท

ทนายความ นายชำนัญ ศิริรักษ์ บอกว่า ผู้รับส่วยจะมีการส่งเงินต่อกันเป็นลำดับชั้น โดยปกติที่ทำเป็นธุรกิจ เขาจะมีคนทำหน้าที่เป็นตัวแทน ไปดีล ไม่เคลียร์กันมาก่อนแล้ว แล้วค่อยเอาสติกเกอร์มาขายกันอีกที แต่อีกแบบคือในแบบรากหญ้าเขาจะขอกันหน้าด่านเลย เจ้าหน้าที่จะเสนอการดูแล ฝากเบอร์ผ่านคนขับมาให้เถ้าแก่ บอกว่าจะคอยดูแลให้ ถามไถ่ว่ารถวิ่งกี่คัน ผ่านเยอะไหม วิ่งสินค้าอะไร จะจ่ายเป็นรายเดือนไหม หรืออย่างไรเจ้าหน้าที่ที่อยู่ตามป้อม เขาจะใช้วิธีกดดัน บางทีโทรมาดึกๆ ดื่นๆ ให้คนขับรถโทรมาบอกว่ารถถูกจับ แม้ผู้ประกอบการบอกว่า รถเราไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ทำไมถึงถูกจับ เขาจะหาเหตุผลมาจับให้ได้ แม้แต่ข้อหารถเลอะ ดอกยางไม่ครบ บางทีก็ประวิงรถ ยึดรถไว้ก่อน เคลียร์จุกจิก กดดันจนเราอึดอัด เพื่อให้เรายอมจ่าย

นายชัย หนึ่งในคนขับรถบรรทุก ยังเล่าวิธีหลบเลี่ยงกฎหมายของผู้ประกอบการบางเจ้า ที่ใช้วิธีเหนือกว่าการซื้อสติกเกอร์ คือไปซื้อที่ดินอ้อมหลังด่านชั่งน้ำหนักจุดชั่งน้ำหนักรถบรรทุก ถนนพระรามสอง ทำให้รถสามารถวิ่งอ้อมหลบด่านชั่งน้ำหนัก ไม่ต้องชั่ง เข้ากรุงเทพไปเลย

บางครั้งเจ้าหน้าที่เขาก็ส่งมาบอก ว่าเขาจะปิดด่านช่วงไหน กี่โมงถึงกี่โมงเพื่อเปิดทางให้รถบรรทุกที่จ่ายส่วย วิ่งกันได้แบบ “ปล่อยฟรี” ไม่ต้องถูกเรียกตรวจเลย

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ