ประวัติการทำงาน และผลงาน พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ

ประวัติการทำงาน และผลงาน พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ

เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี สำหรับ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (เกิด 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502) เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ประธานคณะกรรมการอำนวยความเป็นธรรมและเร่งรัดการปฏิบัติราชการ

ของสำนักนายกรัฐมนตรี ประธาน กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019 กรรมการในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 กรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 16 พรรคประชาธิปัตย์

พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ชื่อเล่น ตุ๋ย ที่จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนที่ 4 และเป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ พลโท ณรงค์ สาลีรัฐวิภาค อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์และเจ้ากรมการพลังงานทหาร ผู้ริเริ่มการขุดเจาะน้ำมันที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และก่อตั้งปั๊มน้ำมันสามทหาร (ปัจจุบันเป็น ปตท.) เป็นหลานปู่ของพระยาสาลีรัฐวิภาค (สงวน ไนคีตะเสน) กับ คุณหญิงขนิษฐา สาลีรัฐวิภาค ส่วนมารดา โสภาพรรณ สาลีรัฐวิภาค (นามสกุลเดิม: สุมาวงศ์)

ภาพจาก พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค - Pirapan Salirathavibhaga

อดีตดาวจุฬาฯ คนแรก ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้สุนทราภรณ์แต่งเพลงดาวจุฬาฯและขวัญใจจุฬาฯ เป็นบุตรีพระมนูเวทย์วิมลนาท (มนูเวทย์ สุมาวงศ์) อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหราชอาณาจักร และประธานศาลฎีกา กับคุณหญิงแฉล้ม มนูเวทย์วิมลนาท ชีวิตครอบครัว สมรสกับ สุนงค์ สาลีรัฐวิภาค (นามสกุลเดิม: โทณวณิก) มีบุตรธิดารวมกันทั้งหมด 4 คน ได้แก่ ชลิตา, ภัทร และฝาแฝด ภัทรพร-ภัทรพรรณ สาลีรัฐวิภาค

พีระพันธุ์ มีประสบการณ์ทำงานเป็นผู้พิพากษาและข้าราชการตุลาการมาก่อน เข้าสู่แวดวงการเมืองโดยลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขตห้วยขวาง ดินแดง พญาไท

ในปี พ.ศ. 2539 ร่วมทีมกับ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ บทบาทในสภา ฯ ของพีระพันธุ์ เป็นไปในทางการตรวจสอบการทุจริต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทุจริตจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ของกองทัพ เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (ป.ป.ช.) สภาผู้แทนราษฎร

ในช่วงปี พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2548 มีผลงานสำคัญคือการสอบสวนการทุจริต ค่าโง่ทางด่วน 6,200 ล้านบาท" ซึ่งถูกนำไปใช้ในการต่อสู้คดีในชั้นศาลและประสบชัยชนะ ทำให้คนไทยไม่ต้องจ่ายค่าโง่พร้อมดอกเบี้ยนับหมื่นล้านบาท

ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 พีระพันธุ์ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานครได้ ย้ายไปลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ โดยพรรคส่ง พันเอกเฟื่องวิชชุ์ อนิรุทธเทวา ลงสมัคร ส.ส.เขต แทน แต่ พ.อ.เฟื่องวิชชุ์ ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 พีระพันธุ์ได้ลงรับสมัครในเขต 3 กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วย เขตห้วยขวาง เขตดินแดง และเขตพญาไท คู่กับ ธนา ชีรวินิจ และ สรรเสริญ สมะลาภา สามารถนำทีมชนะการเลือกตั้งทั้ง 3 คน โดยพีระพันธุ์ ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับ 1 ของเขต

ภาพจาก พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค - Pirapan Salirathavibhaga

ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่เป็น อดีตผู้พิพากษาและข้าราชการตุลาการ ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเงา

พีระพันธุ์ยังทำหน้าที่เป็นรองประธานคณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร ประธานคณะอนุกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามเว็บไซต์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณานโยบาย งบประมาณ และประสิทธิภาพกองทัพ รองประธานคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2552 และกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญอื่นๆ อีกหลายคณะ

วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลที่มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย ในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 16 ในนามพรรคประชาธิปัตย์

ภาพจาก พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค - Pirapan Salirathavibhaga

วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลที่มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย ในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 16 ในนามพรรคประชาธิปัตย์

พ.ศ. 2563 วันที่ 25 พฤษภาคม คณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้มีการประชุมครั้งพิเศษ 10-1/2563 ซึ่งในการประชุมดังกล่าว คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติแต่งตั้งให้พีระพันธุ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทฯ ในวันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565 พีระพันธุ์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่าเตรียมให้คนไปยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐและสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ กับทางพรรคและนายทะเบียนพรรคการเมืองที่ กกต. ในวันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2565 เนื่องจากจัดทำโครงสร้างพรรคให้เข้มแข็งเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ภาพจาก พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค - Pirapan Salirathavibhaga

จากนั้นในวันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2565 พีระพันธุ์ ได้ให้สัมภาษณ์ว่าได้ให้เจ้าหน้าที่ไปยื่นหนังสือลาออกกับทางพรรคพลังประชารัฐกับทาง กกต. เรียบร้อยแล้ว ส่วนเรื่องอนาคตทางการเมืองเมื่อถึงเวลาจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 พีระพันธุ์ได้รับรางวัล นักการเมืองแห่งปี จาก สยามรัฐออนไลน์ ในฐานะนักการเมืองที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศ จากการพิจารณาคัดเลือกของคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 พีระพันธุ์ได้รับรางวัล นักการเมืองแห่งปี จาก สยามรัฐออนไลน์ ในฐานะนักการเมืองที่ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศ จากการพิจารณาคัดเลือกของคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 140/2565 แต่งตั้ง คณะกรรมการอำนวยความเป็นธรรมและเร่งรัดการปฏิบัติราชการ โดยมี พีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นประธานกรรมการ เพื่อประโยชน์ในการเร่งรัดการแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนผู้ร้องเรียนและผู้ร้องทุกข์ และการอำนวยความเป็นธรรมให้ประชาชนโดยเร็ว

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1/2565 ของพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยชูนโยบายการแก้ไขกฎหมายล้าสมัย และสร้างสังคมเท่าเทียม พีระพันธุ์ เปิดเผยว่าพรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นพรรคที่ได้รวบรวมกลุ่มคนทำงาน ที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งคนที่มีประสบการณ์ในการเป็น ส.ส.ทำงานรับใช้พี่น้องประชาชนมาแล้ว ผู้ที่เคยเป็น ส.ส. และคนรุ่นใหม่ที่มีความตั้งใจจะเข้ามาทำงานในฐานะนักการเมือง

เพื่อขับเคลื่อนประเทศชาติตามวิสัยทัศน์หลักของพรรค คือการสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีโอกาสในการดำรงชีวิตในทุกมิติอย่างเท่าเทียมกัน โดยพรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นพรรคการเมืองที่มุ่งเรื่องของการทำงานมากกว่าการเล่นการเมือง และมองเห็นเรื่องของการทำงานเพื่อประเทศชาติประชาชนเป็นสำคัญ

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 324/2565 แต่งตั้ง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ข้อมูลจาก wikipedia

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ