ประวัติ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ดีกรีไม่ธรรมดา

ประวัติ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ดีกรีไม่ธรรมดา

จากกรณีทนายตั้ม แฉ รองหัวหน้าพรรคใหญ่ลวนลามสาว ซึ่งรองหัวหน้าพรรคใหญ่ รายนี้ถูกมุ่งเป้าว่าเป็นนายปริญญ์ พาณิชภักดิ์ และเจ้าตัวได้ออกมาแถลงข่าวด่วนเมื่อเวลา 15.00น. พร้อมประกาศ ด่วน ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ประกาศลาออกทุกตำแหน่งพรรคประชาธิปัตย์

เมื่อเวลา 15.07 น. วันที่ 14 เมษายน 2565 ผู้สื่อข่าวเกาะติดและรายงานสด ปริญญ์ พาณิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวล่าสุดที่พรรคประชาธิปัตย์ถึงกรณีข่าวลวนลามเหยื่อสาวซึ่งทนายตั้ม ษิทรา เบี้ยบังเกิด ได้เข้าแจ้งความไว้เมื่อช่วงเที่ยงที่ผ่านมา

นาย ปริญญ์ พาณิชภักดิ์ ประกาศลาออกทุกตำแหน่งพรรคประชาธิปัตย์ ทำให้ตอนนี้กลายเป็น อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เปิดใจถึงข่าวที่เกิดขึ้นว่า รู้สึกช็อคที่เห็นข่าว ยืนยัน ไม่ใช่เรื่องจริง แต่ยอมรับว่าเคยพบกับหญิงสาวที่อ้างว่าเป็นเหยื่อและคุณแม่จริง

ปริญญ์ พาณิชภักดิ์ เผยการลาออกจากทุกตำแหน่งพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้เป็นความสมัครใจและความต้องการของตนไม่มีผู้ใหญ่ในพรรคมาเกี่ยวข้อง ตนคิดไว้ตั้งแต่เมื่อวานแล้ว เบื้องต้นปฏิเสธข้อกล่าว ขอลาออกจาก ทุกตำแหน่ง ของพรรคประชาธิปัตย์นับจากนี้ และตัดสินใจ แสดงความรับผิดชอบเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

สำหรับประวัติ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ดีกรีไม่ธรรมดา ทั้งสายการเมืองและเศรษฐศาสตร์

โดยปริญญ์ พานิชภักดิ์ เป็นลูกชายของนายศุภชัย พานิชภักดิ์ และนางศสัย พานิชภักดิ์ มีน้องสาว 1 คน คือ นางสาวนฤน พานิชภักดิ์

ปริญญ์ พานิชภักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2520 ที่ กรุงเทพมหานคร เข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ก่อนจะย้ายไปศึกษาระดับไฮสคูลต่อที่ Millbrook House school และ Charterhouse School ประเทศอังกฤษ

นายปริญญ์ จบปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์และการเงิน BSc. Economics and International Relations จาก L.S.E. (London School of Economics and Political Science) ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2542

ต่อมาได้เข้าอบรมหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง อีกหลายครั้ง อาทิ หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้บริหารระดับสูงจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการธุรกิจและอุตสาหกรรม (วธอ.) รุ่นที่ 2 หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) รุ่นที่ 15

สำหรับชีวิตการทำงาน ปริญญ์ พานิชภักดิ์ เริ่มต้นเป็นนักเศรษฐศาสตร์และการเงิน ตั้งแต่พ.ศ. 2542 ในตำแหน่งวาณิชธนากร ที่ ABN AMRO Bank สหราชอาณาจักร (พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2545) และยังทำงานในตำแหน่งอื่นๆดังนี้

-ตำแหน่งรองประธานอาเซียน-UK Business ฟอรั่ม (AUBF)[5] (พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2548)

-ผู้ร่วมก่อตั้งเทศกาลหนังไทย-UK (พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2548)

-รองประธานสายการตลาดและวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ Deutsche Bank - Tisco (พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550)

-หัวหน้าสายการตลาด บริษัทหลักทรัพย์ เครดิต ลียองเนส์ (CLSA) (พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551)

-ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานการลงทุนภูมิภาคเอเชีย บริษัท เครดิต ลียองเนส์ ฮ่องกง (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555)

-กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ CLSA (พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2562)

-ที่ปรึกษาสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2560)

-กรรมการสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2562)

-กรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2562)

-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2562)

-กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2562)

-ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2562)

-กรรมาธิการคณะกรรมาธิการวิสามัญการศึกษาผลกระทบ CPTPP รัฐสภา (พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2563)

-ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจาราณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ (พ.ศ. 2564 - พ.ศ. 2565)

เส้นทางการเมือง

ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ได้ก้าวเข้าสู่การทำงานด้านการเมืองเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมาด้วยตำแหน่งรองหัวพรรคและหัวหน้าทีมเศรษฐกิจทันสมัย พรรคประชาธิปัตย์ ที่ปรึกษารองนายกฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา และเลขาธิการคณะอนุกรรมการทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา

ต่อมาในปีพ.ศ. 2563 ก็ได้ช่วยขับเคลื่อนภาคการเกษตรด้วยการเข้ารับตำแหน่งประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ โดยมีผลงานเป็นที่รู้จักมากมาย อาทิ ผลักดันนโยบายบาซูก้า 2 ล้านล้านบาท โครงการเรียนจบพบงาน โครงการแก้ปัญหาสินค้ามังคุดล้นตลาด

นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้กับหลายหน่วยงาน ได้แก่

-ผู้ร่วมก่อตั้งร้านอาหารโฟร์ซีซัน (ประเทศไทย) (พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน)

-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ (NEA) กระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน)

-กรรมการ บริษัทสินวัฒนา Crowdfunding (พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน)

-กรรมการมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด (พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน)

-ที่ปรึกษา และคณะทํางาน รองนายกฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน)

-ที่ปรึกษา ประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา (พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน)

-เลขาฯ คณะอนุกรรมการทรัพย์สินทางปัญญา รัฐสภา

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ