ผลวิจัย วัคซีนโควิด  Astra-Pfizer เช็กด่วน

ผลวิจัย วัคซีนโควิด Astra-Pfizer เช็กด่วน

ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รายงานผลวิจัยล่าสุด ณ 28 ต.ค.64 ถึงการทดลองฉีด วัคซีนโควิด-19 กระตุ้นเข็ม 3

โดยเปรียบเทียบการ "ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง" และ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (แบบที่ฉีดกันในปัจจุบัน) ซึ่งผลวิจัยพบว่า

ผู้ฉีด วัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม ถูกกระตุ้นเข็ม 3 ได้ดี ด้วยวัคซีน "แอสตร้าเซเนก้า" และ ไฟเซอร์ ทั้งการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และเข้าผิวหนัง

ส่วนผู้ฉีดวัคซีน "แอสตร้าเซเนก้า" ครบ 2 เข็ม ควรกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีน "ไฟเซอร์" ซึ่งได้ผลดี ทั้งแบบเข้ากล้ามเนื้อหรือผิวหนัง ดังนี้

1.กลุ่มฉีด "วัคซีนซิโนแวค" ครบ 2 เข็ม

ฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ด้วย "ไฟเซอร์" เข้าในชั้นผิวหนัง 0.05cc ได้ระดับภูมิคุ้มกัน IgG 3,209 BAU/mL ซึ่งใกล้เคียงกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ในขนาด ครึ่งโดส (0.15cc) ซึ่งได้ระดับ 3,981 BAU/mL แต่ต่ำกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แบบเต็มโดส (0.3cc) ซึ่งให้ค่าเฉลี่ย 5,152 BAU/mL

ฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ด้วย "แอสตร้าเซเนก้า" เข้าในชั้นผิวหนัง 0.1cc ให้ระดับ IgG เฉลี่ย 2,810 BAU/mL ซึ่งสูงกว่าการฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อ ซึ่งมีระดับเฉลี่ย 1,358 BAU/mL ประมาณ 2 เท่า

2. กลุ่มฉีด "แอสตร้าเซเนก้า" ครบ 2 เข็ม

ฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีน "ไฟเซอร์" เข้าในชั้นผิวหนัง 0.05cc ให้ระดับภูมิคุ้มกันสูง 1,490 BAU/mL ใกล้เคียงกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อในขนาดครึ่งโดส (0.15cc) 1,962 BAU/mL แต่ต่ำกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อขนาดเต็มโดส (0.3cc) ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 2,377 BAU/mL

ฉีดเข็ม 3 ด้วย "ไฟเซอร์" ไม่ว่าจะเป็นเข้ากล้ามเนื้อ หรือในชั้นผิวหนัง ให้ระดับภูมิคุ้มกันที่สูงกว่า หลังฉีดเข็ม 2 ของ "แอสตร้าเซเนก้า" (278 BAU/mL) 5-8 เท่า

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ