ยังไม่พอ จี้รัฐอัดเงินเยียวยาเพิ่ม หลังทำเสียหายแล้ว  8.5 แสนล้าน

ยังไม่พอ จี้รัฐอัดเงินเยียวยาเพิ่ม หลังทำเสียหายแล้ว 8.5 แสนล้าน

นายยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (อีไอซี) เปิดเผยว่า ได้ประเมินผลกระทบจากการแพร่ของ cv-19 ระลอกสาม ตั้งแต่เดือน เม.ย.จนถึงเดือน ก.ย.64 รวม 6 เดือน เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจแล้วกว่า 8.5 แสนล้านบาท หรือ 5.3% ของจีดีพี ซึ่งรุนแรงมากกว่าระลอกแรกและระลอก 2 ที่ผ่านมา แต่ความช่วยเหลือของภาครัฐออกมาเพียง 2-3 แสนล้านบาทเท่านั้น จึงเร่งให้ภาครัฐออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อพยุงเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีอีก 2 แสนล้านบาทจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท และเงินกู้ที่เหลือของ 1 ล้านล้านบาทจนครบ

ทั้งนี้ มาตรการที่ออกมาล่าสุดของภาครัฐยังไม่เพียงพอทั้งเชิงพื้นที่ที่ช่วยเหลือรายได้นายจ้างและลูกจ้างเพียง 29 จังหวัดที่โดนล็อกดาวน์ แต่ผลกระทบกระจายตัวไปยังทั่วประเทศ, เชิงระยะเวลาที่ช่วยเหลือรายได้เพียง 1-2 เดือน ขณะที่ผลกระทบลากยาวอย่างน้อย 6 เดือน และเชิงจำนวนเงินที่มีมาตรการช่วยเหลือจากการโอนเงินโดยตรงเพียง 2-3 แสนล้านบาท ถือว่าน้อยกว่า 2 ระลอกก่อนหน้าแย่กว่า

นอกจากนี้ภาครัฐควรกู้เงินเพิ่มเติม 5 แสนล้านบาทถึง 1 ล้านล้านบาท เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย แม้ระดับหนี้สาธารณะจะปรับสูงขึ้นกว่าเพดานหนี้ที่ 60% ต่อจีดีพี แต่เชื่อว่าภาครัฐจะสามารถบริหารจัดการได้ในช่วงดอกเบี้ยต่ำและสภาพคล่องในประเทศมีอยู่สูง โดยภาครัฐต้องสื่อสารถึงแผนการลดระดับหนี้ในระยะปานกลางที่น่าเชื่อถือ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพการคลัง เช่น จะขยายฐานภาษีอย่างไร เป็นต้น และเป็นการรองรับโลกหลังcv-19

ต่อให้รัฐไม่กู้เพิ่มหนี้สาธารณะก็ทะลุ 60% ถ้ากู้เพิ่ม 5 แสนล้านบาท ถึง 1 ล้านล้านบาท และใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเศรษฐกิจข้างหน้าจะบริหารจัดการได้ เพราะช่วงนี้ดอกเบี้ยต่ำ และสภาพคล่องในประเทศยังมี เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากกว่า และไทยสามารถได้ดีกว่านี้

หากไม่ทำอาจเกิดแผลเป็นทางเศรษฐกิจ อาจนำไปสู่กำลังซื้อลดลงมาก การลงทุนใหม่ลดลง ความเหลื่อมล้ำสูง พอเกิดปัญหาต่อเนื่อง ทำให้เวลานั้นภาครัฐต้องใช้จ่ายเพิ่มเติมอยู่ดี ซึ่งควรทำเพื่อเตรียมพร้อมรองรับความท้าทายใหม่ รองรับโลกหลังcv-19 เพราะอาจนำไปสู่ความไม่พร้อมต่อโลกที่เปลี่ยนไป

นายยรรยง กล่าวว่า อีไอซีจึงปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 64 ลงเหลือ 0.7% จากเดิมคาด 0.9% ตามการระบาดในประเทศระลอกที่สามที่รุนแรงและยืดเยื้อ ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติน้อยกว่าคาดเหลือ 1.7 แสนคน จากคาดเดิม 3 แสนคน โดยเชื่อว่าสถานการณ์จะเริ่มดีขึ้นในไตรมาส 4 แม้มีโอกาสจีดีพีติดลบ 0.5% หากการเยียวยาไม่เพียงพอ และต้องการฟื้นฟู กระตุ้นใช้จ่ายเพิ่มเติม

สำหรับปี 65 อีไอซีคาดเศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.4% เป็นการฟื้นตัวจากในประเทศและนอกประเทศ เริ่มจากการส่งออกสินค้ายังมีแนวโน้มขยายตัวแม้จะชะลอลงตามการระบาดที่เพิ่มขึ้น และเริ่มเปิดเมืองได้คาดนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทย 6.3 ล้านคน รวมทั้งการใช้จ่ายในประเทศจะฟื้นตัวจากกิจกรรมเศรษฐกิจที่จะกลับมาดำเนินการได้ใกล้เคียงกับภาวะปกติอีกครั้ง แต่จะเป็นการฟื้นตัวอย่างช้าๆ เพราะผลของแผลเป็นเศรษฐกิจที่ลึกจากผลกระทบในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ