ข่าวดี ใครฉีดวัคซีนตัวนี้เช็กเลย ไม่ติดCV-19 แน่นอน

ข่าวดี ใครฉีดวัคซีนตัวนี้เช็กเลย ไม่ติดCV-19 แน่นอน

ผมไม่ติดเ ชื้ อ เป็นคำยืนยันของอาสาสมัครที่เข้ารับการฉีดวัคซีนChula-Cov19 ซึ่งต่อมาได้สัมผัสผู้ติดเ ชื้ อแต่เจ้าตัวกลับมีผลตรวจไม่ติดเ ชื้ อ นี่คือความหวัง วัคซีน Mrna ตัวแรกของไทย

แม้สถานการณ์การแพร่ของcv-19-19 ยังไม่สงบ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข ตรวจคัดกรองเชิงรุกพบผู้ติดเ ชื้ อ รายใหม่เพิ่มขึ้นในระดับหลักหมื่นราย

อย่างไรก็ดี มีความพยายามในการพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันcv-19 และกระจายการฉีดวัคซีนให้ได้อย่างทั่วถึงโดยเร็ว

ในส่วนของจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ทำการคิดค้นวัคซีนที่เป็นของคณะแพทย์ไทย นั่นคือวัคซีน ChulaCOV-19 ซึ่งได้มีการทดสอบวัคซีนกับอาสาสมัครและได้ผลการป้องกันcv-19เป็นอย่างดี

ล่าสุด สุกฤษฏิ์ ธีระปัญญารัตน์ หนึ่งในอาสาสมัครเข้ารับวัคซีน ChulaCov19 ครบแล้ว 2 เข็ม (เข็มแรกวันที่ 24 มิถุนายน 2564 และเข็มที่ 2 วันที่ 15 กรกฎาคม 2564) ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Sukrit Terapanyarat เปิดเผยถึงประสิทธิภาพวัคซีน mRNA ตัวแรกของไทย คมชัดลึกออนไลน์เห็นว่ามีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์อย่างยิ่ง จึงขอนำมาเสนอ

นายสุกฤษฏิ์ เล่าว่า ท่ามกลางสถานการณ์ที่คนในครอบครัวและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นบุคคลใกล้ชิด ติดเชื้อโควิด-19 ทว่า ตนเองซึ่งอยู่ในภาวะเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 3 ครั้ง ตรวจหาเชื้อ 3 รอบ ปรากฏว่าไม่ติดเชื้อโควิด-19 แต่อย่างใด

นายสุกฤษฏิ์ ระบุว่า ว่าด้วยประสิทธิภาพวัคซีน ChulaCov19 วัคซีน mRNA ตัวแรกของไทย ก่อนอื่นต้องอธิบายว่า ทางโครงการวิจัยไม่ได้มีการเปิดเผยเลขภูมิคุ้มกันขิงวัคซีนแก่ อสม. เพียงแต่บอกได้ว่ามันดีมาก

ดังนั้น นี่จะเป็นการรีวิวและอธิบายจากประสบการณ์จริง เมื่อที่บ้านและออฟฟิศของผม ติด cv-19 เกือบยกครัว แต่ ผม เป็นคนเดียวที่ไม่ติด

1. วัคซีน ChulaCov19 ถูกพัฒนาขึ้นโดยศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม

2. วัคซีน ChulaCov19 เป็นวัคซีนชนิด mRNA ที่มีพัฒนาและวิจัยต่อยอดจาก Moderna ดังนั้นประสิทธิภาพที่ออกมาจึงมั่นใจได้ว่าเทียบเท่า Pfizer และ Moderna หรืออาจจะดีกว่าสำหรับการป้องกันเดลต้า เพราะกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาต่อไปหลังจากทดสอบกับ อสม. กลุ่มแรก

3. ผมได้รับวัคซีนขนาด 25 ไมโครกรัม (ใช้น้อยกว่า Pfizer) จำนวน 2 โดส ฉีดห่างกัน 3 สัปดาห์

[โดสแรก] วันที่ 24 มิ.ย. 64 - มีอาการปวดหัวและอ่อนเพลียอย่างเห็นได้ชัดต่อเนื่องราว ๆ 2-3 วัน ไม่มีไข้ และยังทำงานได้ปกติ

[โดสสอง] วันที่ 15 ก.ค. 64 - ปวดหัวหนักกว่าโดสแรก หลังจากฉีด 2 ชั่วโมง และฝะถึงขั้นซมหลังฉีด 6 ชั่วโมง มีไข้หรือตัวรุม ๆ แต่ไข้ไม่สูง ปวดหัวตลอดทั้งคืน กว่าจะทุเลาลงก็คือวันที่สอง ซึ่งนอนซม รบกวนการทำงานแน่นอน หลังจากนั้นไข้หายในสองวัน ส่วนอาการปวดหัวจะต่อเนื่องไปร่วม 3-4 วันเลยทีเดียว

5. หลังจากฉีดวัคซีนครบสองโดสได้ราวหนึ่งสัปดาห์ พ่อของผมเริ่มมีอาการป่วย ปวดหัว ไอ ส่วนพนักงานที่ออฟฟิศไปตรวจcv-19 Rapid Antigen Test ผลปรากฏว่าติดcv-19 จึงมีการตรวจกันทั้งบ้าน

ผลลัพธ์ : พนักงานออฟฟิศติด 2 คน ไม่ติด 1 (ซึ่งคนที่บ้านของพนักงานติดเกือบยกครอบครัว), และพ่อของผม

6. เพื่อความแน่ใจ ทางโครงการวิจัยได้นัดให้ผมไปตรวจ RT-PCR อีกรอบ เพราะผมกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิดผู้ป่ ว ย ซึ่งผลออกมาว่า ผมไม่มีเ ชื้ อ cv-19จริงๆ

7. คุณพ่อมีอาการหนักสุด ส่วนพนักงานแทบไม่มีอาการ ได้ทำการรักษาตามอาการแบบ Home Isolation แยกบ้านกันอยู่

8. เหตุการณ์เหมือนจะไม่มีอะไร แต่หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ อยู่ๆอาการคุณพ่อก็ทรุดหนัก ไข้ขึ้นสูง SpO2 ลดลงต่อเนื่องจาก 95 เหลือ 92 ในตอนเย็น และเหลือ 89 ในตอนกลางคืน ไม่ค่อยมีสติและลำบากในการสื่อสาร

9. ด้วยความจำเป็นที่จะต้องหาโรงพยาบาลด่วน ซึ่งอย่างที่ทุกคนทราบคือ ทุกที่เตียงเต็ม แต่โชคดีที่ติดต่อโรงพยายาลสมุทรสาครได้

ถึงกระนั้น โรงพยาบาลก็ไม่มีรถฉุกเฉิน จำเป็นที่เราจะต้องขับรถไปเอง

วันนั้น (29 ก.ค.) หลังจากเพิ่งตรวจ RT-PCR ในวันเดียวกัน ผมต้องใกล้ชิดคุณพ่อที่เป็นผู้ป่วยอีกครั้ง ครั้งนี้มีการสัมผัสและใกล้ชิดมาก แต่ด้วยความจำเป็นต้องพาไปโรงพยาบาล จึงไม่มีทางเลือก (อุปกรณ์ป้องกันมีเพียง หน้ากากอนามัยสองชั้น face shield และถุงมือยาง)

10. พ่อของผมโชคดีที่ห้อง ER มีเตียงว่าง ได้รับการรักษาและรับยาฟาวิทันที แม้จะยังไม่เคยตรวจ PCR มาก่อน ก่อนจะได้แอดมิทที่โรงพยายาลสมุทรสาคร แม้จะเป็นผู้ป่วยนอก

ซึ่งปัจจุบันอาการดีขึ้นมากแล้ว ย้ายไปโรงพยาบาลสนาม และใกล้จะได้กลับมารักษาตัวต่อที่บ้าน

11. ส่วนตัวผมเองยังมีนัดต้องไปเจาะเลือดเก็บตัวอย่างกับทางโรงพยาบาลจุฬาฯ เพื่อวัดภูมิวัคซีนหลังฉีด 3 สัปดาห์ ซึ่งเป็นเวลาหลังจากผมสัมผัสผู้ ป่ ว ย โดยตรงประมาณ 12 วัน ไม่ได้มีอาการอะไร จึงได้ทำการ Rapid Antigen Test อีกครั้ง

และผลก็ออกมาบอกว่า ผมไม่มี เ ชื้ อ

อย่างที่เห็นก็คือว่า ผมผ่านการเสี่ยงติด เ ชื้ อ มาแล้วถึงสามครั้ง และตรวจสามรอบ

ครั้งที่ 1 - คือการทำงานในออฟฟิศ อยู่กับผู้ที่ติด เ ชื้ อ cv-19 ในช่วงที่เชื้อกำลังฟักตัวและไม่มีอาการ

ครั้งที่ 2 - หลังจากคนรอบข้างอาการเริ่มออก ผลจรวจออกมา เริ่มมีการให้พนักงาน WFH แต่ก่อนหน้านั้น ผมเองยังคงต้องขับรถ ร่วมโดยสารกับผู้ที่ติด เ ชื้ อทุกวัน

ครั้งที่ 3 - กลับมาสัมผัสผู้ป่วย cv-19 โดยตรงอีกครั้ง หลังจาก distancing กันมานานสัปดาห์นึง

ด้วยผลทดสอบนี้ น่าจะบ่งบอกได้ดีถึงประสิทธิภาพของวัคซีน mRNA ได้ดีในระดับนึง และเป็นเหตุผลว่า ทำไมวัคซีน ChulaCov19 น่าจะเป็นวัคซีนตัวความหวังของคนไทย

สำหรับคำถามว่า คนไทยจะได้ฉีดวัคซีนตัวนี้เมื่อใด คำตอบก็คือ กว่าจะวิจัยพัฒนาและทดสอบกลับ อสม. กลุ่มสอง กลุ่มสามเสร็จ น่าจะช่วงไตรมาส 1-2 ของปี 2565 เลยครับ ถึงกระนั้น ถ้ามันฉุกเฉินจริงๆ ไม่แน่ว่า อาจจะมีการใช้วัคซีนตัวนี้เป็น เข็มสาม ในช่วงปลายปี

และที่สำคัญที่สุด ถึงแม้จะได้วัคซีนที่ดีแล้วยังไง การ social distancing ก็ยังสำคัญ เพราะผลลัพธ์ที่เกิดกับสหรัฐฯ ตอนนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีของการผ่อนคลายมาตรการควบคุม โ ร ค ขอบคุณครับ

สำหรับวัคซีน ChulaCov19 เป็นการคิดค้นออกแบบและพัฒนาโดยคนไทย จากความร่วมมือสนับสนุนโดยคุณหมอนักวิทยาศาสตร์ผู้คิดคนเทคโนโลยีนี้คือ Prof.Drew Weissman มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย วัคซีน ChulaCov19 ผลิตโดยสร้างชิ้นส่วนขนาดจิ๋วจากสารพันธุกรรมของcv-19 (ไม่มีการใช้ตัวเชื้อแต่อย่างใด)

เมื่อร่างกายได้รับชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมขนาดจิ๋วนี้เข้าไป จะทำการสร้างเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนปุ่มหนามขึ้น (spike protein) และกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันไวเตรียมต่อสู้เมื่อไปสัมผัส เ ชื้ อ เมื่อวัคซีน mRNA ทำหน้าที่ให้ร่างกายสร้างโปรตีนเรียบร้อยแล้ว ภายในไม่กี่วัน mRNA จะถูกสลายไปโดยไม่มีการสะสมในร่างกายแต่อย่างใด

สุกฤษฏิ์ ธีระปัญญารัตน์ โพสต์ประสบการณ์การรับวัคซีนChula-Cov19 ซึ่งมีผู้เข้ามาติดตามจำนวนมาก

ทั้งนี้ วัคซีน Chula-Cov 19 เป็นวัคซีนชนิด mRNA ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตเช่นเดียวกับวัคซีน Pfizer-BioNTech และวัคซีน Moderna ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาการใช้งานในมนุษย์ระยะที่ 1 จากกลุ่มอาสาสมัคร 100 คน โดยจะทำการศึกษาทั้งสิ้น 3 ระยะ

เป็นการสังเคราะห์รหัสคำสั่งโดยใช้นส่วนพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 ส่วนที่เป็นปุ่มหนามของโปรตีน เมื่อฉีดวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย เซลล์จะทำการสร้างโปรตีนส่วนที่เป็นปุ่มหนามของเ ชื้ อ cv-19 ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อจดจำและตอบโต้cv-19 รหัสคำสั่ง ที่เรียกว่า mRNA (messenger Ribonucleic Acid) นี้จะเป็นคำสั่งชั่วคราว เมื่อทำหน้าที่เรียบร้อย จะสลายไปภายในไม่กี่วัน จึงไม่มีการสะสมในระยะยาวแต่อย่างใด

สามารถเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ได้อย่างน้อย 3 เดือน และสามารถเก็บที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ได้อย่างน้อย 2 อาทิตย์ จึงสะดวกในการขนส่งและการใช้งานในต่างจังหวัด

จากการศึกษาโดยการใช้หนูทดลองพบว่า วัคซีน Chula-Cov19 มีผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ

เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2564 จะเริ่มทดลองใช้วัคซีน Chula-Cov1 9 ในมนุษย์

วัคซีน Chula-Cov19 รุ่นต่อไปกำลังถูกพัฒนาเพื่อป้องกันและลดความรุนแรงจากการติดcv-19 สายพันธุ์ B. 1.351 (แอฟริกาใต้) และสายพันธุ์ B.1.1.7 (อังกฤษ)

ข้อมูล ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2564

ที่มา : ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ