ด่วนปลัด มท.​ ร่อนหนังสือถึง ปลัดกทม. ผู้ว่าฯทุกจังหวัด

ด่วนปลัด มท.​ ร่อนหนังสือถึง ปลัดกทม. ผู้ว่าฯทุกจังหวัด

เมื่อวันที่ ๒๗ มิ.ย. ๖๔ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับการสั่งการและประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ลงนามในหนังสือด่วนที่สุด ถึงปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด โดยระบุว่า

ด้วยนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในข้อกําหนดฯ และคําสั่งฯ จํานวน ๒ ฉบับ ดังนี้

๑. ข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๔ (ฉบับที่ ๒๕) ประกาศ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไป โดยมีข้อกําหนดและข้อปฏิบัติ ดังนี้

๑.๑ มาตรการเร่งด่วนเพื่อสกัดกั้นการระบาดในพื้นที่เป้าหมายเฉพาะ

๑.๒ การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

๑.๓ การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานในสถานประกอบการและโรงงาน เขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

๑.๔ มาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วน เฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล

๑.๕ มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในเขตชุมชน

๑.๖ การให้ความช่วยเหลือประชาชน

๑.๗ กําหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมและตรวจคัดกรองการเดินทาง

๑.๘ การปราบปรามผู้กระทําผิดที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการแพร่โรค

๑.๙ มาตรการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง

๑.๑๐ การงดจัดกิจกรรมทางสังคม

๒. คําสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โควิด - 19) ที่ ๖/๒๕๖๔ เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กําหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตามข้อกําหนดออกตามความ ในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ กําหนดเขตพื้นที่สถานการณ์เป็น “พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ๑๐ จังหวัด รายละเอียดตามข้อกําหนดฯ และคําสั่งฯ ที่ส่งมาพร้อมนี้ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) พิจารณาแล้ว ขอให้กรุงเทพมหานคร และจังหวัดดําเนินการ ดังนี้

๑. รับทราบและถือปฏิบัติตามข้อกําหนดและคําสั่งดังกล่าว โดยเคร่งครัด

๒. สร้างการรับรู้ข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดดังกล่าว แก่ผู้ประกอบการ พนักงาน ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ ประชาชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องทุกระดับ

๓. ให้นํามาตรการควบคุมแบบบูรณาการสําหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ข้อห้าม และ ข้อปฏิบัติตามข้อกําหนดฯ (ฉบับที่ ๒๔) ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ใช้บังคับกับพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวดตามข้อกําหนดฯ (ฉบับที่ ๒๕) ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกัน

๔. กรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล

เน้นย้ําให้กรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด หารือกับคณะกรรมการโรคติดต่อ กรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เพื่อดําเนินการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของ กลุ่มแรงงาน และเขตชุมชน ดังนี้

๔.๑ กลุ่มแรงงานก่อสร้าง ถือปฏิบัติตามข้อกําหนดฯ ฉบับที่ ๒๕ โดยหารือร่วมกับ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน พิจารณามีคําสั่งปิดสถานที่ก่อสร้าง ปิดสถานที่พักอาศัยชั่วคราวสําหรับ คนงาน ให้หยุดงานก่อสร้าง และห้ามเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นการชั่วคราว ประสานการปฏิบัติกับฝ่ายความมั่นคง ตํารวจ กระทรวงสาธารณสุข หน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กําหนดมาตรการในการปฏิบัติตามคําสั่ง ตรวจสอบ การดําเนินการให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมโรค จัดทําทะเบียน รวมทั้งวางระบบในการตรวจตรา เฝ้าระวัง มิให้แรงงานออกนอกพื้นที่ที่ถูกปิดอย่างเด็ดขาด โดยให้มีการประเมิน ติดตาม และรายงานผลการปฏิบัติด้วย

๔.๒ กลุ่มแรงงานในสถานประกอบการและโรงงาน เพื่อให้สถานประกอบการและโรงงาน สามารถดําเนินกิจการได้ ให้หารือร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และ กระทรวงสาธารณสุข วางระบบการดําเนินการตามมาตรการควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) ตามที่ทางราชการกําหนด รวมทั้งการกํากับ หรือจํากัดการเคลื่อนย้ายเดินทางเข้าออกเขตพื้นที่สถานประกอบการ หรือโรงงาน

๔.๓ เขตชุมชน วางระบบให้พนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเข้าไป ตรวจตราเขตชุมชน ตลาด หรือสถานที่ที่ได้ประเมินแล้วว่ามีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค เข้าตรวจคัดกรอง เชิงรุก และเร่งค้นหาผู้ติดเชื้อ เพื่อดําเนินการตามกระบวนการทางสาธารณสุข กรณีพบแหล่งที่มีการระบาด ของโรคเป็นกลุ่มก้อนให้มีคําสั่งเพื่อดําเนินการควบคุมโรคตามมาตรการสาธารณสุขอย่างรวดเร็ว และเข้มงวด

๕. จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และจังหวัดสงขลา) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด หารือกับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ฝ่ายความมั่นคง ตํารวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเน้นย้ํามาตรการการตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ หรือจุดสกัด เพื่อตรวจคัดกรองการเดินทางอย่างเข้มข้น เพื่อสกัดกั้น และยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด รวมทั้งทําความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่ งดการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดและออกนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

กรณีมีเหตุจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัด ต้องแสดงบัตรประชาชน หรือบัตรแสดงตนอื่น ๆ ควบคู่กับเอกสารรับรองความจําเป็นที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่นั้น โดยให้ดําเนินการตามหลักเกณฑ์การตรวจคัดกรองการเดินทางออกนอก พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และจังหวัดสงขลา) ที่ส่งมาพร้อมนี้

๖. จังหวัดอื่น ๆ

๖.๑ วางระบบและมาตรการป้องกันโรค ให้ประสานการปฏิบัติกับฝ่ายความมั่นคง ตํารวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ หรือจุดสกัด เพื่อตรวจ คัดกรองการเดินทางอย่างเข้มงวด รวมทั้งมอบหมายนายอําเภอ เพื่อแจ้งกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น บูรณาการความร่วมมือในการติดตาม ค้นหา และคัดกรองผู้ที่เดินทางเข้าหมู่บ้าน/ชุมชนทุกราย กรณีที่พบผู้เดินทางมาจากพื้นที่ที่กําหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้ดําเนินมาตรการควบคุมและ ป้องกันโรคโดยการคุมไว้สังเกต ณ ที่พํานัก เป็นระยะเวลา ๑๔ วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นเดินทางเข้ามายังพื้นที่/หมู่บ้าน และให้งดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ นอกหมู่บ้าน/ชุมชนโดยเด็ดขาด หากพบเชื้อให้แยกกัก หรือกักกันตามมาตรการที่ทางราชการกําหนด
ทั้งนี้ ให้ทําบัญชีรายชื่อผู้ที่เดินทางเข้าหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อรวบรวมส่งให้อําเภอบันทึก ข้อมูลเข้าระบบรายงานข้อมูลผู้เดินทางเข้าหมู่บ้าน/ชุมชน (Thai Quarantine Monitor : Thai QM) ต่อไป

๖.๒ มอบหมายหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทําความเข้าใจกับ ผู้ประกอบการในพื้นที่ไม่ให้รับแรงงานต่างด้าวที่เดินทางจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เข้าทํางาน ในสถานประกอบการ เนื่องจากจะมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ในพื้นที่ และอาจต้องถูกดําเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป

๗. ประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านความมั่นคง สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (ศปม.ตร.) และศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง เหล่าทัพ (ศปม.เหล่าทัพ) ในพื้นที่ เพื่อวางแผนในการจัดวางกําลังและการปฏิบัติ ในพื้นที่รับผิดชอบ โดยให้ร้องขอ กําลังสนับสนุนจากหน่วยงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคงในพื้นที่

๘. กรณีคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ได้มีมติ ให้ออกประกาศหรือคําสั่ง ให้ส่งประกาศหรือคําสั่งให้ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) ทราบโดยเร็ว เพื่อรายงานสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป รวมทั้งให้จังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ รับทราบประกาศหรือคําสั่งโดยทั่วกัน

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ