
เปิดใจจาก ชมพู่ ถึง ธนาธร กับแฮชแท็ก ฟ้ารักพ่อ ที่มาแรงสุดๆ ในโลกโซเชียลในตอนนี้
กลายเป็นกระแสที่มีคนพูดถึงกันอีกครั้ง ถึงแม้ว่าละคร ดอกส้มสีทอง จะลาจอไปแล้วหลายปี แต่ล่าสุดวลีเด็ดสุดฮิตของเรื่องอย่าง “ฟ้ารักพ่อ” ที่พูดโดยตัวเอกอย่าง เรยา ก็กลับมาเป็นแฮชแท็กขึ้นอันดับหนึ่งของทวิตเตอร์อีกครั้ง งานนี้ซุปตาร์สาว ชมพู่-อารยา เอ ฮาร์เก็ต ก็ได้ออกมาเปิดใจให้ฟังว่า ดีใจที่คนไม่ลืม ส่วนตัวมองเป็นเรื่องตลก ไม่ได้ซีเรียสอะไรที่ถูกโยง
ส่วนแฮชแท็ก #ฟ้ารักพ่อ และ เรยาไม่โอเค เรารู้สึกยังไง ?
ชมพู่ :“ก็เป็นเรื่องตลก เราอยู่ในยุคดิจิตอล ในยุคโซเชียล คิดซะว่าเรายังอยู่ ไม่ได้ถูกลืม”
ไม่ได้เป็นการโยงใช่ไหม ?
ชมพู่ : “ชมไม่ได้ซีเรียส เพราะชมมองแยกกัน ตัวชมเองก็ไม่ใช่สายที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นตรงนี้มากอยู่แล้ว มองว่าเป็นเรื่องตลกๆ”
หากใครเป็นขาทวิตเตอร์คงได้มีโอกาสเห็นแฮชแท็กทั้ง 4 นี้ #พ่อขอฟ้า #ฟ้ารักพ่อ #พ่อรักฟ้า #ฟ้ารักนโยบายพ่อ ขึ้นท็อปเทรนด์ พร้อมกับคำถามว่า ใครคือฟ้า? ใครคือพ่อ? กันแน่
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2554 ละคร “ดอกส้มสีทอง” โด่งดังเป็นพลุแตก พร้อมกับนักแสดงทั้งหน้าเก่า-หน้าใหม่กลายเป็นที่นิยม ซึ่งละครเรื่องนี้มีประโยคฮิตหลายประโยค
ซึ่งหนึ่งในนั้นคือประโยคที่ว่า “ฟ้ารักพ่อ” เป็นประโยคที่ “เรยา” เภรรยาน้อยในเรื่องเรียกแทนตัวเองกับ “สิน” หนุ่มนักธุรกิจที่มีภรรยาอยู่แล้ว
นอกจากนี้เมื่อปลายปีที่ผ่านมายังมีแฮชแท็ก #แด๊ดดี้ที่ไม่ได้แปลว่าพ่อ ซึ่งบุคคลในนั้นก็ล้วนแต่เป็นหนุ่มหล่อที่สาวๆ ปลาบปลื้ม ไม่ว่าจะเป็น ติ๊ก-เจษฎาภรณ์ ผลดี, เคน-ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์ เป็นต้น สื่อให้เห็นถึงความหมายอย่างชัดเจน
และพอมาถึงในช่วงเลือกตั้ง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นอีกคนหนึ่งที่ได้รับความนิยมจนได้ฉายาคุณพ่อ ซึ่งเมื่อวานนี้ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เขาในฐานะศิษย์ 2 สถาบันก็ได้ไปร่วมงานนี้ด้วย
และอย่างที่ทราบว่านโยบายของเขาเข้าถึงคนรุ่นใหม่งานนี้การปรากฏตัวของเขาเลยยิ่งสร้างความตื่นเต้นให้กับวัยรุ่นอย่างมาก
ในเวลาต่อมาแฮชแท็ก#พ่อขอฟ้า #ฟ้ารักพ่อ #พ่อรักฟ้า #ฟ้ารักนโยบายพ่อ ก็ขึ้นท็อปเทรนด์
เห็นว่าเป็นคนชื่นชอบการอ่านหนังสือมาก จริงๆ ชอบอ่านหนังสือมาตั้งแต่เมื่อไหร่?
“ความชอบอ่านหนังสือเป็นความบังเอิญมากกว่า มันเริ่มจากตอนที่ผมอยู่มัธยมศึกษาตอนต้น ห้องหนังสือและห้องสมุดที่โรงเรียนติดแอร์”
“พอบางที่เราร้อนไม่มีอะไรทำก็ขึ้นไปห้องหนังสือ มันก็มีนิยายหลายเล่มมากประมาณ 20-30 เล่ม ผมก็ใช้เวลาช่วง ม.ต้น อ่านจนจบทุกเล่ม แล้วหลังจากนั้นก็ค่อยๆ พัฒนาหาหนังสืออ่านมาเรื่อยๆ
“คือในแง่ของความคิดทางการเมืองก็ดี ในแง่ของบริบทของสังคมก็ดี ประวัติศาสตร์ไทยก็ดี เนื่องจากผมเรียนสายวิศวะ ดังนั้นสายสังคมศาสตร์ทั้งหมดไม่มีครู มาจากการอ่านล้วนๆ เราก็เรียนรู้บริบทสังคมผ่านหนังสือที่เราอ่านทั้งหมดเลย”
“เนื่องจากมันเป็นการขาดดุลทางด้านความรู้ทางสังคมศาสตร์ของเรา เราเลยจำเป็นที่จะต้องอ่านหนังสือพวกนี้เยอะ มันก็ช่วยเติมเต็มสิ่งที่ขาดให้กับเรา”
ขอขอบคุณภาพจาก พรรคอนาคตใหม่ - Future Forward Party,instagram/chomismaterialgirl