
โพลชี้ชัด เผยคนที่ประชาชนอยากให้เป็นนายกคนต่อไปมากที่สุด
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2568 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง การเมืองไทย ไปต่อแบบไหนดี ซึ่งจัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 4-7 กรกฎาคม 2568 โดยสำรวจประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ไม่เกิน 0.05 และมีระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 97.0
ผลการสำรวจความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน พบว่า
- ร้อยละ 42.37 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ควรประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพื่อหานายกรัฐมนตรีคนใหม่
- ร้อยละ 39.92 มองว่าควรยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไป
- ร้อยละ 15.04 เห็นว่าควรบริหารประเทศต่อไปเหมือนเดิม
- ร้อยละ 1.37 เรียกร้องให้มีการรัฐประหาร
- ร้อยละ 0.99 ระบุว่า อย่างไรก็ได้
- ร้อยละ 0.31 ไม่ตอบ
เมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (ตามรายชื่อผู้มีสิทธิเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ) ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ต้องพ้นจากตำแหน่ง พบว่า
- ร้อยละ 32.82 ระบุว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (องคมนตรี แต่เป็นแคนดิเดตจากพรรครวมไทยสร้างชาติ)
- ร้อยละ 27.94 ไม่สนับสนุนใครเลยตามรายชื่อผู้มีสิทธิเป็นนายกฯ
- ร้อยละ 11.53 สนับสนุน นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย)
- ร้อยละ 10.92 สนับสนุน นายชัยเกษม นิติสิริ (พรรคเพื่อไทย)
- ร้อยละ 9.77 ใครก็ได้ตามรายชื่อผู้มีสิทธิเป็นนายกฯ
- ร้อยละ 3.82 สนับสนุน นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ)
- ร้อยละ 1.83 สนับสนุน นายจุรินทร์ ลักษณวิศษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ร้อยละ 0.84 สนับสนุน พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ)
- ร้อยละ 0.53 ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ส่วนความคิดเห็นต่อการที่พรรคประชาชนควรร่วมลงชื่อกับพรรคฝ่ายค้าน เพื่อขอเปิดอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และ/หรือรัฐมนตรี จากสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน พบว่า
- ร้อยละ 64.43 ระบุว่า ควรลงชื่อเพื่อขอเปิดอภิปรายและลงมติไม่ไว้วางใจ
- ร้อยละ 26.26 ไม่ควรลงชื่อ
- ร้อยละ 7.48 อย่างไรก็ได้
- ร้อยละ 1.83 ไม่ตอบ
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจ ดังนี้
- ภูมิลำเนา: ร้อยละ 8.55 กรุงเทพฯ, ร้อยละ 18.70 ภาคกลาง, ร้อยละ 17.79 ภาคเหนือ, ร้อยละ 33.28 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ร้อยละ 13.82 ภาคใต้, ร้อยละ 7.86 ภาคตะวันออก
- เพศ: ร้อยละ 47.94 เป็นเพศชาย, ร้อยละ 52.06 เป็นเพศหญิง
- อายุ: ร้อยละ 12.13 อายุ 18-25 ปี, ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี, ร้อยละ 17.94 อายุ 36-45 ปี, ร้อยละ 26.34 อายุ 46-59 ปี, ร้อยละ 25.80 อายุ 60 ปีขึ้นไป
- ศาสนา: ร้อยละ 96.79 พุทธ, ร้อยละ 2.52 อิสลาม, ร้อยละ 0.69 คริสต์และศาสนาอื่น ๆ
- สถานภาพสมรส: ร้อยละ 35.27 โสด, ร้อยละ 62.60 สมรส, ร้อยละ 2.13 หม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่
- การศึกษา: ร้อยละ 0.46 ไม่ได้รับการศึกษา, ร้อยละ 15.42 ประถมศึกษา, ร้อยละ 37.25 มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า, ร้อยละ 9.77 อนุปริญญาหรือเทียบเท่า, ร้อยละ 30.69 ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า, ร้อยละ 6.41 สูงกว่าปริญญาตรี
- อาชีพ: ร้อยละ 8.63 ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ, ร้อยละ 17.94 พนักงานเอกชน, ร้อยละ 20.53 เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ, ร้อยละ 10.31 เกษตรกร/ประมง, ร้อยละ 16.10 รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน, ร้อยละ 20.99 พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณ/ว่างงาน, ร้อยละ 5.50 นักเรียน/นักศึกษา
- รายได้: ร้อยละ 20.84 ไม่มีรายได้, ร้อยละ 2.82 ไม่เกิน 5,000 บาท, ร้อยละ 13.59 5,001-10,000 บาท, ร้อยละ 31.98 10,001-20,000 บาท, ร้อยละ 11.45 20,001-30,000 บาท, ร้อยละ 5.04 30,001-40,000 บาท, ร้อยละ 2.37 40,001-50,000 บาท, ร้อยละ 1.45 50,001-60,000 บาท, ร้อยละ 0.61 60,001-70,000 บาท, ร้อยละ 0.08 70,001-80,000 บาท, ร้อยละ 0.84 80,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.93 ไม่ระบุรายได้