
เจ้าที่ให้โชคในระหว่างประทับทรง ในงานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง ที่สืบทอดมานานกว่าพันปี
วันที่ 9 พ.ค. 2568 เกษตรกรชาวสวนผลไม้ ทุเรียน ลางสาด ลองกอง อำเภอลับแล พร้อมใจสวมใส่เสื้อผ้าพื้นเมืองแบบไทยยวนของชาวลับแล จัดขบวนแห่ที่สวยงามและยิ่งใหญ่ ตามแบบประเพณีโบราณ แห่น้ำขึ้นโฮง ของบรรพบุรุษที่สืบทอดมานานกว่า 1,000 ปี โดยในขบวนแห่ได้มีน้ำอบน้ำหอม ต้นผึ้งต้นดอก เครื่องบายศรี ในการเดินขบวน
โดยได้เริ่มเดินจากด้านหน้าวัดดอนสัก ต.ฝายหลวง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ระยะทางกว่า 2 กก.ไปยังอนุเสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ซึ่งเป็นเนินเขาสูง และเป็นสถานที่ประทับของเจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ปฐมกษัตริย์ผู้ครองเมืองลับแลคนแรกตั้งแต่อดีตกาล
และในแท่นบูชา ประกอบด้วยหัวหมูต้ม ไก่ต้ม อาหารคาวหวาน ผลไม้นานาชนิด และเครื่องบายศรี ในการจัดเตรียมประกอบพิธี นำขึ้นสักการะดวงวิญญาณ และสรงน้ำเจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ตลอดจนเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เมื่อขบวนแห่มาถึงยังลานอนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมารนายรวี เล็กอุทัย สมาชิกผู้แทนราษฏร จ.อุตรดิตถ์ เป็นประธานในพิธี นำชาวลับแลอันเชิญดวงวิญญาณของเจ้าฟ้าฮ่ามกุมารลงจากที่ประทับ เพื่อให้ลูกหลานชาวลับแล ที่จัดขบวนน้ำอบน้ำหอบ หาบต้นผึ้ง ต้นดอก เครื่องบายศรี เครื่องสักการะ
จากนั้นนายรวี เล็กอุทัย สมาชิกผู้แทนราษฏร จ.อุตรดิตถ์, นายสุระวุธ จันทร์งาม นายอำเภอลับแลและนายชูชาติ จันทร์วัฒนพงษ์ นายก อบต.ฝายหลวง ร่วมกันผูกผ้าสามสี คล้องพวงมาลัย 7 สี 7 ศอก ก่อนจะนำชาวลับแล ร่วมกันสรงน้ำอนุสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร
ทั้งนี้ ประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง เป็นภาษาลับแล แปลว่า ขึ้นโรง ที่ถือปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาแต่โบราณ โดยถือฤกษ์ วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 ของทุกๆ ปี ปีนี้ตรงกับวันพืชมงคล ชาวลับแลถือว่าเข้าสู่ฤดูฝน จึงพร้อมตั้งจิตเป็นหนึ่งเดียว หาบน้ำอบน้ำหอม ต้นผึ้งต้นดอก เครื่องบายศรี และเครื่องบวงสรวง สักการะและถวายแด่ดวงวิญญาณปฐมกษัตริย์ผู้ครองเมืองลับแลคนแรก
ตลอดจนเทพารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เพื่อดลบันดาลความร่มเย็นเป็นสุขของชาวลับแล ขอฝนตกต้องตามฤดูกาล ไม่เกิดภัยธรรมชาติ พืชผลทางการเกษตรสมบูรณ์พูนสุข ขายได้ราคาดีและเป็นการแสดงความเคารพกตัญญูกตเวทีต่อผู้สร้างบ้านแปงเมือง บรรพบุรุษที่ล่วงลับ เพื่อความเป็นสิริมงคล ประเพณีอันดีงามของชาวลับแลสืบต่อกันมายาวนานถึง 1,038 ปี
ซึ่งในระหว่างการประกอบพิธี ได้มีผู้เข้าร่วมพิธี เกิดอาการตัวสั่น เหมือนเจ้าเข้าร่าง พร้อมกับให้ชาวบ้านนำยาเส้นมาให้พัน และจุดไฟสูบบุหรี่ จากนั้นได้มีชาวบ้านมานั่งรุมล้อม ณ.บริเวณศาลาด้านหน้าฝั่งตรงข้ามอนุเสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมมาร พร้อมกันกันชาวบ้านต่างพากันเข้าไปพูดคุยพร้อมกันนี้เจ้าที่เข้าได้มีการสวดคาถาพร้อมอวยพรโชค ให้กับผู้ที่เข้าไปร่วมพิธี
สอบถามชาวบ้านในพื้นที่ บอกกับผู้สื่อข่าวว่า ที่เห็นมีร่างประทับทรงอยู่นี้ น่าจะเป็นเทพเทวา หรือเจ้าที่ ที่ดูแลปกปักษ์รักษาดูแล อนุเสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมา ซึ่งในทุกๆปีเมื่อมีการจัดพิธีบวงสรวงและการจัดงานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง ก็จะมีเทพผู้ดูแลสถานที่แห่งนี้ลงมาประทับทรง เพื่ออำนวยความสุข ความโชคดี ให้กับชาวอำเภอลับแลและกันทุกปี
ในขณะเดียวกันทางด้านหน้าอนุเสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ได้มีการจุดธูปเสี่ยงทาย ซึ่งชาวบ้านเปิดเผยว่า ในทุกๆปีเมื่อถึงช่วงจัดงานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง ก็จะมีการจุดธูปเสี่ยงโชค และในทุกๆปีก็จะมีถูกรางวัลกันอยู่เป็นประจำ บางปีก็จะถูกรางวัลเป็นเลขธูป บางปีก็จะถูกรางวัลเป็นปี พศ.ที่สร้างอนุเสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ซึ่งเลขเสียงโชค ที่ปรากฏคือตัวเลข 799 และเลข พ.ศ. ที่สร้างอนุเสาวรีย์เจ้าฟ้าฮ่ามกุมมารคือ พ.ศ. 1513 ซึ่งชาวบ้านและสายมู ต่างก็นำโทรศัพท์มาถ่ายรูปไว้เพื่อนำไปเสี่ยงโชคในงวดที่จะมาถึง
ผู้สื่อข่าวจังหวัดอุตรดิตถ์ รายงาน