ฮือฮา พบเจอได้ยาก งูหลามปากเป็ด มีลำตัวอ้วนหนากว่างูหลามและงูเหลือม แต่มีหางที่สั้น ดูไม่สมส่วน

ฮือฮา พบเจอได้ยาก งูหลามปากเป็ด มีลำตัวอ้วนหนากว่างูหลามและงูเหลือม แต่มีหางที่สั้น ดูไม่สมส่วน

เรียกได้ว่าฮือฮามาทีเดียวหลัง ผู้ใช้เฟสบุ๊ครายหนึ่ง ใช้ชื่อว่า ชิติพัทธ์ ทองสัมฤทธิ์ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า นานๆได้เจอสักตัว งูหลามปากเป็ด หาดูยากที่เขาพนม

ภาพจาก ชิติพัทธ์ ทองสัมฤทธิ์

ภาพจาก ชิติพัทธ์ ทองสัมฤทธิ์

ภาพจาก ชิติพัทธ์ ทองสัมฤทธิ์

โดยข้อมูลจาก wikipedia เผยว่า งูหลามปากเป็ด (อังกฤษ: Blood python; ชื่อวิทยาศาสตร์: Python curtus) เป็นงูไม่มีพิษ มีลำตัวที่อ้วน หนา กว่างูหลามและงูเหลือม แต่มีหางที่สั้นแลดูไม่สมส่วน และมีลวดลายที่แปลกออกไป มีหลายหลากสี ทั้งน้ำตาล, แดง, เหลือง, ส้ม หรือ เขียว โดยงูแต่ละตัวจะมีสีสันและลวดลายต่างกันออกไป ขนาดโตเต็มที่ได้ประมาณ 1.50 เมตร จัดเป็นงูที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกุลนี้

พบในประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป ตลอดจนมาเลเซีย, สิงคโปร์จนถึงอินโดนีเซีย โดยสถานที่ค้นพบครั้งแรกอยู่ที่เกาะสุมาตรา

เป็นงูที่ไม่ค่อยขึ้นต้นไม้ มักจะซุ่มรออาหารตามพื้นดินที่เฉอะแฉะใกล้แหล่งน้ำ

ที่โดยมากเป็นสัตว์เลือดอุ่นขนาดเล็ก งูหลามปากเป็ดวางไข่ครั้งละประมาณ 30–50 ฟอง

 แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย คือ P. c. curtus เป็นชนิดทั่วไป, P. c. breitensteini พบในบอร์เนียว และ P. c. brongersmai พบในแหลมมลายูของมาเลเซียและสิงคโปร์

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้ที่นิยมสัตว์เลื้อยคลานเพราะมีความสวยงาม ในบางข้อมูลจะให้ชนิดย่อยทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นชนิดแยกกันไปเลย

ภาพจาก wikipedia

ภาพจาก wikipedia

ภาพจาก wikipedia

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ