ไขข้อสงสัย จดหมายปรีดี ทำไมต้องเปิดอ่านปี 2567

ไขข้อสงสัย จดหมายปรีดี ทำไมต้องเปิดอ่านปี 2567

เรียกได้ว่าเป็นประเด็นที่หลายคนต่างจับตามอง สำหรับการเปิดผนึกจดหมายของ ปรีดี พนมยงค์ หรือที่เรียกกันว่า จดหมายปรีดี และเมื่อวันที่ 2 มกราคม 67 ก็ได้มีการไลฟ์สด เปิดผนึกจดหมายปรีดี โดย ผู้ลี้ภัยของไทย ประกอบด้วย จอมไฟเย็น, จรัล ดิษฐาอภิชัย, จรรยา ยิ้มประเสริฐ และ ยัน มาร์ฉัล แต่ทว่า จดหมายที่เปิดออกมานั้น กลับไม่ใช่จดหมายที่ทุกคนคาดหมายเอาไว้ แต่เป็นการเปิดจดหมายผิดซอง ซึ่งจรรยา ได้อธิบายว่าไม่ได้เป็นคนรับเอกสาร จึงไม่ได้ตรวจสอบว่าเอกสารที่เจ้าหน้าที่หยิบมาเป็นเอกสารชุดที่เปิดเผยแล้ว

จดหมายปรีดี หรือ Dossier de Pridi Panomyong คือจดหมายของ ปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรี และรัฐบุรุษอาวุโสของไทย ที่ได้มอบไว้ให้กับรัฐบางฝรั่งเศส และถูกเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุกระทรวงต่างประเทศ ซึ่งมีการกำหนดให้ประชาชนเข้าถึงเนื้อหาในจดหมายได้ในปี 2567

แล้วทำไมต้องเปิดอ่านในปี 2567 เนื่องจากจดหมายปรีดี ไม่ได้ถูกจัดว่าเป็นเอกสารนักการทูต หรือจดหมายส่วนตัว แต่เป็นเอกสารที่รวบรวมโดยสถานทูตฝรั่งเศสในประเทศไทย และส่งกลับมาที่กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสในปารีส ในปี 2520 ระบุว่า หากเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับชีวิตส่วนตัว หรือ ความมั่นคงของรัฐ จะถูกกำหนดให้เข้าถึงได้ในอีก 60 ปีข้างหน้า หรือก็คือปีนี้นั่นเอง

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ