ภัยเงียบแผ่นดิน จอกแหน 2 พันไร่ กลางเขื่อนกิ่วลมถล่มแหล่งท่องเที่ยว

ภัยเงียบแผ่นดิน จอกแหน 2 พันไร่ กลางเขื่อนกิ่วลมถล่มแหล่งท่องเที่ยว

วันนี้ ผู้สื่อข่าวฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบหลังมีชาวบ้านฯได้ร้องเรียนต่อสื่อผู้สื่อข่าว ว่ามีจอกแหนกระจายตัวอย่างหนัก หวั่นกระทบการท่องเที่ยวเขื่อนกิ่วลมและได้พบนายปองพล ไชยยะ อายุ 54 ปี ประธานชมรมเรือแพสำเภาทอง ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ได้เล่าว่า ช่วงที่น้ำท่วม อ.แจ้ห่ม หนักๆ ไม่รู้มาจากอ่างไหนนะ แล้วมาฟักตัวแถวบ้านสา บ้านแป้น แถววัดบ่อส้ม ไหลมาจริงๆตอนปี 2560 -2561 ช่วงไวรัสโควิดระบาด พอหลังจากนั้นเต็มพื้นที่เลย ผู้ประกอบการวิ่งผ่านแหนไปไม่ไหวก็ต้องจอด มีแม็คโครมาตักจอกแหนมาลากเข้ามา หลังจากนั้นก็ต้องเพิ่มจากเครื่องยนต์เดียวเป็น 2 เครื่อง ตอนนั้นหนามากความหนาเป็นเมตร ตอนนี้พูดถึงก็ไม่หนาแต่กว้างกินพื้นที่ จากหัวโค้งสำเภาทองไปถึงห้วยแป๋น 4-5 กิโลเมตร เต็มพื้นที่

โดยนายปองพล ไชยยะ ประธานชมรมเรือแพสำเภาทอง ได้พาผู้สื่อข่าวฯ ชี้ให้ดูแหนที่แพร่พันธุ์ในเขื่อนกิ่วลมจนทำให้เกิดการกีดขวางทางล่องแพท่องเที่ยวที่ผู้ประกอบการเคยวิ่งบริการลูกค้ามานานหลายปี เสียงสะท้อนจากนักท่องเที่ยวเริ่มดังขึ้นเรื่อยๆว่าราคาเหมาแพเที่ยวละ 5,000 บาท จากที่เคยวิ่งไปถึงหัวเขื่อน ปัจจุบันแพผู้ประกอบการบางเจ้าไม่สามารถฝ่าเกาะแหนไปได้ต้องฆ่าเวลาอยู่ไม่ไกลจากฝั่ง ราคาเท่าเดิมแต่ระยะทางที่แพล่องไปได้ไม่ไกล เพราะเกาะแหนที่กินพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ขวางกั้นอยู่การแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วของแหนในเขื่อนกิ่วลมกำลังกระทบกับการท่องเที่ยวที่เคยเป็นจุดขายขึ้นทุกวัน

สำหรับผู้ประกอบการถ้าใครวิ่งทะลุแหนค่าน้ำมันก็เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เหมือนรถวิ่งเปล่ากับรถวิ่งขึ้นเขา ต้นทุนเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เราต้องยอมจ่ายเพื่อให้ลูกค้าประทับใจแล้วกลับมาหาเราอีกเครื่องยนต์พังแน่ๆก็ซ่อมกันอย่างเดียว ต้นทุนซ่อมบำรุงก็เพิ่มขึ้น ผมเป็นห่วงลูกค้าจะกลับมาหาเราอีกไหม หรือจะไปสร้างกระแสว่าเขื่อนกิ่วลมไม่น่าท่องเที่ยวตรงนี้มากกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นทางผู้ประกอบการเองก็เคยคุยเพื่อร่วมหาทางแก้ไขมาแล้วโดยปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนมี 34 ลำ แยกเป็นหน้าเขื่อน 20 ลำ ส่วนทางสมาชิกสำเภาทองมี 14 ลำ เราก็เคยคุยกันหลายรอบมากแต่ไม่จบ สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน เคยเอาสารมาพ่นก็ได้ผลดีมาก แต่เขาเงียบไป เขาบอกว่าสารชีวภาพยังมีอีกเยอะ ส่วนที่ลอยเรือดูดขึ้นมาผมไม่รู้ว่าราคาจริงๆเท่าไร ทำงานคุ้มกับที่เสียไปไหม แต่ตรงนี้เป็นประเด็น เรือสีส้ม 14 ล้านบาท ทำงานเหมือนเด็กตักกองดินกองทราย ทำงานไม่คุ้มกับตัวเรือ ตอนนี้มันอยู่ที่คนไม่ได้อยู่ที่อุปกรณ์แล้ว อยู่ที่พนักงานที่ควบคุมเรือแล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเขาจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ทำงานเต็ม 8 ชั่วโมงอย่างที่คุยไหม นายปองพล ชี้ให้เห็นถึงการเข้ามาแก้ไขของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ

ด้านองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เคยมาช่วยท่อกับเชือก รวมๆแล้วเกือบ 1 ล้านบาท ตอนนั้นเราเสนอว่าให้ล้อมพื้นที่จำกัดไม่ให้แหนกระจายออก มันจะเหยียบกันเอง ที่ลอยก็รอด ที่อยู่ข้างล่างก็ตายร่วงลงไปข้างล่าง ส่วนที่อยู่ข้างบนถ้าอากาศร้อนจัดๆ เดือนพฤษภาคมตายหมด แต่ส่วนที่ฟักตัวใหม่คือขอบอ่างทีแรกห่างจากพื้นดิน 1-2 เมตร ตอนนี้ 10 กว่าเมตร บางจุด 20-30 เมตร ขอบิ่างหายไปเยอะมาก ส่วนนี้ละครับถ้ากำจัดไม่เสร็จ ผมคิดว่าให้กำจัดแหนที่ขอบอ่างก่อนไม่ให้ไหลออกมา มีที่ซ่อนตัวอยู่ใต้รากผักบุ้งเวลาน้ำขึ้นที่กิ่วลม ข้อเสียของกิ่วลมคือขึ้นไวลงไว ขึ้นที 1-2 เมตร เวลาลงปล่อยที 3-4 เมตร แพงัดแทบไม่ทันต้องมานอนเฝ้าระวัง ตอนนี้มีบอกในกลุ่มไลน์ก็ช่วยเราได้เยอะ พอมีการแจ้งข่าวว่าจะปล่อยน้ำ ปริมาณเท่าไร น้ำแห้งลงเท่าไร เขาแจ้งมา ก็ดีขึ้น แต่ตอนนี้เงียบๆ นายปองพล เล่าถึงการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วของแหนในเขื่อนกิ่วลม

อย่างไรก็ตามแม้จะมีการช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประธานชมรมเรือแพสำเภาทอง ยืนยันว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่เครื่องมือหรือเรือที่หน่วยงานซื้อมาในราคาแพง“เครื่องมืออุปกรณ์เราครบนะ อยากให้คนควบคุมเครื่องมีความรู้ความสามารถทำงานเต็มเวลา เครื่องยนต์แพงจริงแต่คนใช้ประโยชน์ไม่หมดไม่เต็มราคาก็ไม่มีความหมายอะไร” นายปองพล กล่าวพลางมองไปที่เรือดูดอัดแหนราคากว่า 37 ล้านบาท โดยเฉพาะช่วงเวลาการท่องเที่ยวในเชื่อนกิ่วลมแบบไฮซีซั่น ซึ่งนายปองพล บอกว่าเริ่มตั้งแต่ตุลาคม แต่แหนพวกนี้มาช่วงปลายเดือนกันยายน “เนื้อที่แหนผมว่าไม่ต่ำกว่า 2,000 ไร่ ถ้าตักแหนออกแบบนี้ผมว่าอีก 2 ปีก็ไม่หมด ส่วนที่เติบโตแตกตัวใหม่เท่าไร ที่เราตักออกกับที่แตกตัวใหม่ถ้าเท่ากันก็เสมอตัว ปัญหาคือมันแตกตัวมากกว่าที่เราตักออก เราอาจจะไม่มีงบประมาณซื้อเชือก และท่อ ล้อมพื้นที่แหน อบจ.ลำปาง ก็เคยช่วยมาแล้วล้านกว่าบาท นายปองพล ให้ความเห็น

ทั้งนี้ ปัญหาการเติบโตแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วของแหนในเขื่อนกิ่วลมหลายคนอาจมองว่านี่คือเรื่องเล็ก แต่สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่สามารถพานักท่องเที่ยวไปยังหัวเขื่อนได้เหมือนเดิม เนื่องจากมีแผ่นดินแหนราวๆ 2,000 ไร่ขวางอยู่ นี่คือวิกฤตอย่างแท้จริงปัญหานี้ทาง อบจ. ยังต้องลงมาช่วยเหลือ แต่เพราะเหตุใดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงมองว่าการท่องเที่ยวในเขื่อนกิ่วลมวันนี้ยังไม่ใช่ประเด็นที่ต้องรีบแก้ไขหรือจริงๆแล้ว ปัญหาอาจไม่ได้อยู่ที่หน่วยงาน แต่อยู่ที่คนอย่างที่นายปองพล กำลังเป็นห่วง

อัมรินทร์ วะนะวิเชียร ผู้สื่อข่าวสยามนิวส์ จังหวัดลำปาง รายงาน

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ