ไฟเขียว ปรับลดวงเงิน โครงการ เราชนะ 6 พันล้าน

ไฟเขียว ปรับลดวงเงิน โครงการ เราชนะ 6 พันล้าน

วันที่ 12 สิงหาคม 2564 แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการเราชนะในส่วนของกรอบวงเงินในโครงการจากเดิมที่ได้รับจัดสรรวงเงินประมาณ 2.8 แสนล้านบาท ปรับลดลงเหลือ 2.73 แสนล้านบาท โดยปรับลดลงประมาณ 6.76 พันล้านบาท

ทั้งนี้วงเงินที่ปรับลดลงเหลือ 2.73 แสนล้านบาทดังกล่าวได้รวมวงเงินที่อยู่ระหว่างดำเนินการระงับสิทธิ์ชั่วคราวของผู้ประกอบการที่กระทำการเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการเราชนะวงเงินประมาณ1.42 หมื่นล้านบาท

ซึ่งกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงของผู้ประกอบการและประชาชนที่กระทำการเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯซึ่งหกาตรวจสอบแล้วไม่พบการทุจริตจะดำเนินการยกเลิกการระงับสิทธิ์แอปพลิเคชั่น ถุงเงิน และจ่ายเงินให้กับร้านค้าต่อไป

สำหรับผลการดำเนินงานของโครงการเราชนะกระทรวงการคลังได้รายงานให้ที่ประชุม ครม.รับทราบว่า ณ วันที่ 30 มิ.ย.2564 มีผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการฯจำนวนทั้งสิ้นกว่า 33.22 ล้านคน แบ่งเป็นกลุ่มผู้มีบัตรสัสดิการแห่งรัฐจำนวน 13.6 ล้านคน กลุ่มผู้มีแอพพลิเคชั่นเป๋าตังค์จำนวน 8.3 ล้านคน

กลุ่มผู้ลงทะเบียนฯจำนวน 8.71 ล้านคน และกลุ่มต้องการความช่วยเหลือ จำนวน 2.4 ล้านคน โดยมีผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการฯที่ใช้จ่ายจนครบวงเงินสิทธิ์จำนวนกว่า 2.72 แสนล้านบาท โดยในจำนวนนี้รวมวงเงินที่ต้องมีการดำเนินการโอนเงินซ้ำให้แก่ผู้ประกอบการที่โอนเงินไม่สำเร็จจำนวน 645,533.77 บาท

กระทรวงการคลังโดย สศค. ได้มีการกำหนดแนวทางเพื่อควบคุมและป้องกันการกระทำผิดวัตถุประสงค์ของโครงการฯ อย่างเข้มงวด โดยได้มีการจัดตั้งคณะทำงานพิจารณาตรวจสอบข้อมูลและเรื่องร้องเรียนสำหรับโครงการเราชนะ

โดยคณะทำงานฯ ในการติดตามตรวจสอบผู้ประกอบการและประชาชนที่กระทำการเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ อย่างต่อเนื่องในกรณีที่ตรวจพบธุรกรรมที่มีความผิดปกติและเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ

เช่น การรับ แลกวงเงินสิทธิ์เป็นเงินสด เป็นต้น จะดำเนินการระงับสิทธิ์ชั่วคราวการเข้าร่วมโครงการฯ และร่วมมือกับ หน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและขยายผลการสืบสวนสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป

โดยปัจจุบันกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบผู้ประกอบการที่มีธุรกรรมผิดปกติและเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯจำนวน 3,000 ราย โดยมีวงเงินการระงับสิทธิ์ชั่วคราวของผู้ประกอบการที่กระทำการเข้าข่ายผิดหบักเกณฑ์และเงื่อนไขอยู่ประมาณ 1.42 หมื่นล้านบาท

เรียบเรียง สยามนิวส์

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ